ข่าวประชาสัมพันธ์

วช. จับมือ คพ. ผลักดันการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม


18 มิถุนายน 2022, 14:32 น.

 

วช. จับมือ คพ. ผลักดันการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

วันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น.ณ ห้องประชุม Lotus 5–7 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ แยกราชประสงค์ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาวิจัยในประเด็นการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศและขยะ ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม Lotus 5–7 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565

 

เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันนโยบายที่สำคัญและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม บนฐานความร่วมมือทางวิชาการด้วยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยขยายขอบเขตบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง (วช.) และ (คพ.) ให้ครอบคลุมปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และขยะ รวมถึง จัดการสัมมนาวิชาการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยในประเด็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ระหว่างวันที่ 18–19 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม Lotus 5–7 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ และออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook ของ (วช.)

กิจกรรมภายในงานฯ เริ่มด้วยพิธีลงนามความร่วมมือฯ ระหว่าง ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) หลังจากนั้น ทั้ง 2 ท่านได้ร่วมกันเปิดงานสัมมนาวิชาการฯ เพื่อสร้างโอกาสให้นักวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจาก (วช.) นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่สาธารณะ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ รวมทั้งภาคประชาชน เพื่อนำผลการดำเนินโครงการวิจัยฯ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า คพ. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” แบบบูรณาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยจัดตั้ง ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ หรือ ศกพ. เพื่อทำหน้าที่ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และมีการพัฒนาระบบพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 7 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชันบัญชาการการดับไฟป่า เนื่องจากฝุ่น PM2.5 เป็นทั้งมลพิษปฐมภูมิ ที่เกิดจากการปล่อยโดยตรงจากแหล่งกำเนิด และ PM2.5 ทุติยภูมิจากการรวมตัวของสารตั้งต้นต่างๆ จึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ โครงการวิจัยฯ เพื่อศึกษาการระบายและสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดอนุภาค PM2.5 ทุติยภูมิ จะมีประโยชน์ต่อแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศได้อย่างเหมาะสมและสร้างความตระหนักให้กับชุมชนผู้อยู่อาศัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานสำคัญของประเทศ ภายใต้กรอบการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เน้นการวิจัยเชิงรุก ด้วยการประชุมระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนงานวิจัยตอบโจทย์ผู้ใช้ประโยชน์ตามความต้องการ และใช้กลไกความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง (วช.) กับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนผลผลิตและผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รวมทั้งมีการต่อยอด ขยายผลกับหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงแนวทางการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการวิจัยและนวัตกรรม

(วช.) และ (คพ.) มีความร่วมมือกันในการผลักดันการใช้ประโยชน์จากการศึกษาวิจัยเพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา PM2.5 มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2563 โดย (คพ.) ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยในประเทศไทย จัดทำโครงการวิจัยต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหา PM2.5 ทั้งในเชิงการบริหารจัดการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจาก (วช.) มาอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้จึงเห็นพ้องร่วมกันขยายขอบเขตในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมประเด็นการติดตามป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และขยะ เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินงานแผนงานวิจัยด้านการพัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างบูรณาการ เชื่อมโยงผลผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมรประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่องล่าสุด