ปรพล อดิเรกสาร ที่ปรึกษาของ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ เเละสิ่งเเวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน การจัดทำเเผน 5 ปี สร้างความเข้มเเข็งเครือข่ายป่าชุมชนสระบุรี 38 เเห่ง
ปรพล อดิเรกสาร ที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ เเละ สิ่งเเวดล้อม (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มาเป็นประธานเปิดงาน การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดสระบุรี ครั้งที่3/4 ณ อาคารพัฒนาเเละฝึกอบรม โรงงานปูนซิเมนต์ไทย เเก่งคอย จ.สระบุรี
โดย มี ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 รักษาการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี กรรมการผู้จัดการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (แก่งคอย) นายกสมาคมการท่องเที่ยวสระบุรี เเละ ประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน มาให้การต้อนรับเเละร่วมประชุม
ปัจจุบันป่าชุมชนทั่วทั้งประเทศมีทั้งสิ้น 11,182 แห่ง เนื้อที่ประมาณ 6,227,532 ไร่ สำหรับจังหวัดสระบุรีเรานั้น มีป่าชุมชนทั้งสิ้น 38 แห่ง และอยู่ระหว่างรออนุญาตจัดตั้ง จากกรมป่าไม้ อีก 7 แห่ง รวมเนื้อที่ประมาณ 10,079 ไร่
ป่าชุมชนในจังหวัดสระบุรี ได้มีการดำเนินงานมาไม่น้อยกว่า 30 ปี และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่ปราศจากสารพิษสารเคมี เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจภายในชุมชน จนกระทั่งในปี 2562 ได้มีการตราพระราชบัญญัติป่าชุมชน พศ. 2562 โดยกำหนดให้มีการจัดทำแผนจัดการป่าชุมชนระยะ 5 ปี ซึ่งแต่ละป่ามีรายละเอียดการดำเนินงานแตกต่างกัน เช่น มีการปลูกป่า การป้องกันไฟป่า การอาบป่า การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และการจัดให้เป็นห้องเรียนธรรมชาติของเยาวชน ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สร้างเศรษฐกิจฐานราก ได้ตรงกับความต้องการของชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งเป็นแผนที่สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์อย่างรวดเร็ว
การที่เครือป่าชุมชนจังหวัดสระบุรี ได้จัดประชุมทำแผนจัดการป่าชุมชน 5 ปี ระยะที่ 2 ในวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เห็นทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นระบบ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนที่เป็นผู้เสียสละปกป้องป่าของชุมชนไว้อย่างน่าชมเชย
หากดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ เเละสิ่งเเวดล้อม ที่ได้ประกาศจะเพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้ได้ร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศ รวมเนื้อที่ 177.94 ล้านไร่ ภายในปี 2580 จ.สระบุรี ก็จะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น จะมีความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง การท่องเที่ยวเติบโต และ ประชาชนอยู่ดีมีสุข ตลอดไป