เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 : นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้ ดร.ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพครูของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วย ววน.และขอบคุณทุกเครือข่ายความร่วมมือ โดยมี นายปริญ ชัยสิทธิ์ รองอธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น) กล่าวต้อนรับ และ นายเอกพงษ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กปว) ได้กล่าวถึงความร่วมมือการดำเนินงานของ (สป.), (อว.) และ (สกร.) โดยมี นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย, นายบุญกิจ อุ่นพิกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฯ, ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะผู้บริหาร, อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารสถานศึกษา (สกร.) ข้าราชการ ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับและเข้ารับการอบรม ณ ห้องประชุมมงคลประดู่ อาคาร 50 ปี เทคนิค ไทย-เยอรมัน ขอนแก่น
สำหรับโครงการฯ นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดย กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (คลินิกเทคโนโลยี) จำนวน 10 มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ (สกร.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัด โดยใช้กลไกองค์ความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จากเครือข่าย (อว.) และเครือข่าย สถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความร่วมมือไปทุกภูมิภาค เพื่อร่วมพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ ความต้องการของพื้นที่และพัฒนาหลักสูตรที่เชื่อมโยงการเรียนการสอนและการพัฒนาทักษะอาชีพ ตลอดจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือ สู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ให้ครอบคลุมในทุกมิติการเรียนรู้
นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา และครู สกร.ตำบลต้นแบบที่เคยประสบความสำเร็จจากการเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพโดยใช้ (ววน.) ของ (มทร.ล้านนา) ในโครงการม่อนล้านโมเดล ร่วมบรรยาย ถอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าอบรม พร้อมทั้ง ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี บรรยายการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ จากผู้บริหาร (สกร.) และคณะอาจารย์มหาวิทยาลัย ผ่านการนำเสนอ One page การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้การโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนและโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ โดยครู สกร. เพื่อสร้างแนวทาง ช่องทางและแรงจูงใจให้ครู (สกร.) ได้นำไปพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป