วันที่ 30 ก.ค.2567 เวลา 11.30 ที่ตึกกองบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายพีรพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เรียกคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีกรณีปลูกป่าในโครงการ “ปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม (ปลูกป่าล้านไร่ กฟผ.)” เข้าชี้แจงเพื่อติดตามเร่งรัดการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ของ กฟผ. โดยมี ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (ผบช.สพฐ.ตร.) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเข้าชี้แจงและรายงานข้อมูลผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น
ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ กล่าวภายหลังการประชุมว่า “ในวันนี้ได้เชิญ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ มาให้ข้อมูลและรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ร้องเรียนโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม (ปลูกป่าล้านไร่ กฟผ.) ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานได้แต่งตั้งทั้งท่านเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการดังกล่าวซึ่งกระทรวงพลังงานได้มีคำสั่งที่ 1/2567 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยในวันนี้ได้รับรายงานข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องรวมทั้งความคืบหน้าในการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมถึงท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบแนวทางในการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทั้งในส่วนของการสืบสวนและการสอบสวน อันเป็นผลมาจากการที่มีผู้ร้องเรียนการทุจริตในโครงการ ปลูกป่าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานให้ครอบคลุมถึงที่มาของโครงการ การส่งมอบผืนป่าเพื่อใช้ในการปลูกป่า, การตรวจรับงานของ จนท.กฟผ. เพื่อให้เกิดความชัดเจนในข้อเท็จจริงตามประเด็นการร้องเรียน โดยหากมีกระทำกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงผู้กระทำความผิดและผู้เกี่ยวข้องจะต้องได้รับโทษทางวินัยในส่วนของ กฟผ. เองและโทษทางอาญาด้วย ซึ่งการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง ในส่วนผลของการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรคงต้องรอให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการดำเนินการให้แล้วเสร็จจึงจะสามารถเปิดเผยได้ แต่ก็ได้เร่งรัดการดำเนินงานและเสนอผลการปฎิบัติงานให้ทราบเป็นระยะ”
สำหรับโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม (ปลูกป่าล้านไร่ กฟผ.) นั้น เป็นโครงการอันเนื่องมาจากนโยบายการลดคาร์บอนจากการผลิตพลังงานพลังงานไฟฟ้า โดยการปลูกป่าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศปีละ 1 แสน ระยะเวลา 10 ปีรวม 1 ล้านไร่ โดยนอกจากจะเป็นโครงการปลูกป่าแล้วยังต้องมีการบำรุงรักษาป่าต่อเนื่องไปอีกเก้าปีตามโครงการซึ่งทั้งหมดใช้งบประมาณที่สูงโดยโครงการเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 ปัจจุบันโครงการได้ถูกระงับอันเนื่องมาจากการร้องเรียนดังกล่าว