ภาพเก่าเล่าอดีต

ฮูตีกับยุทธนาวีในทะเลแดง


20 กรกฎาคม 2024, 12:31 น.

 

ฮูตีกับยุทธนาวีในทะเลแดง
โดย สิริอัญญา
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567

 

ขบวนการฮามาสและพันธมิตรเปิดยุทธการพายุอัลอักซอกับอิสราเอล สหรัฐและอังกฤษย่างเข้าเดือนที่ 4 แล้ว ความคาดหวังที่ว่าจะพ่ายแพ้ในเวลา 5 วัน 10 วัน ได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขบวนการฮามาสสามารถยืนหยัดในสงครามได้อย่างเหนียวแน่นยิ่งกว่าเมื่อครั้ง 7 ประเทศอาหรับทำสงคราม 7 วันกับอิสราเอลเมื่อเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา

 

อีกด้านหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่าศักยสงครามและแสนยานุภาพของสหรัฐ อังกฤษ และอิสราเอลรวมกันแล้วและใช้เวลาเข้าเดือนที่ 4 แล้ว ก็ยังไม่สามารถเอาชนะขบวนการฮามาสและพันธมิตรได้ กระทบต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของชาติมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมและนักจักรวรรดินิยมของโลกปัจจุบันอย่างแหลมคมที่สุด

 

ทะเลแดง (ภาพจาก พีพีทีวี)

 

ยุทธนาวีล่าสุดระหว่างขบวนการฮูตีซึ่งเป็นกองกำลังผสมระหว่างกองกำลังของขบวนการอัลซอรุลเลาะห์แห่งเยเมนและกองทัพของรัฐบาลเยเมน ที่สามารถจมเรือรบและเรือสินค้าต่าง ๆ ไปแล้วเกือบ 200 ลำ และล่าสุดได้ยิงถล่มกองเรือบรรทุกเครื่องบินไอเซนฮาวร์ของสหรัฐต้องถอยหนีออกไป โดยได้รับความเสียหายจำนวนมาก

 

ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินที่เป็นที่ภาคภูมิใจของโลกตะวันตกมาหลายสิบปีและความเชื่อมั่นในแสนยานุภาพว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองอิสราเอลจากยุทธวิธีทำลายคลังเสบียง ได้สูญสิ้นไปอย่างสิ้นเชิง เพราะนอกจากไม่สามารถปกป้องคุ้มครองใด ๆ ได้แล้ว ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด หวุดหวิดจะจมลงในสมรภูมิแห่งนั้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์กองเรือของสหรัฐ

 

การโจมตีเรือสินค้าทุกชนิดและจากทุกประเทศที่ส่งข้าวปลาอาหารเสบียงกรังและข้าวของต่าง ๆ ไปยังอิสราเอลนั้นต้องถือว่าเป็นยุทธวิธีที่สำคัญ และในที่สุดจะมีผลต่อการเอาชนะสงครามนี้ของขบวนการปฏิวัติอิสลามต่าง ๆ ได้ กลยุทธ์ชนิดนี้แต่โบราณเรียกว่ากลยุทธ์ตีคลังเสบียง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำลายกองทัพที่ใหญ่โตและเข้มแข็งให้ปราชัยไปได้อย่างคาดคิดไม่ถึง

 

ภาพจาก : VOA Thai

 

สำหรับอิสราเอลนั้นเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางทหารมากที่สุดในภูมิภาคนั้น แต่มีจุดอ่อนอยู่สองข้อ คือมีประชากรน้อย และข้าวปลาอาหารของกินของใช้ทั้งหลาย รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต้องนำเข้ามาจากภายนอก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการสงคราม หากไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเพียงพอแล้ว อิสราเอลก็จะไม่สามารถยืนหยัดในสงครามได้และจะต้องปราชัยในที่สุด

 

ดังนั้นการที่ขบวนการฮูตีรับภารกิจในการดำเนินกลยุทธ์ตีคลังเสบียงของอิสราเอลดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญมาก ที่สามารถส่งผลต่อชัยชนะและปราชัยในสงครามนี้ได้

 

และการปกป้องคุ้มครองกองเรือต่าง ๆ ที่จะขนส่งข้าวของไปยังอิสราเอลนั้นก็ต้องถือว่าเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของทั้งสหรัฐ อังกฤษ และอิสราเอลด้วย เพราะถ้าไม่สามารถปกป้องคุ้มครองได้ก็หมายความว่าความปราชัยอยู่ที่ปลายจมูกแล้ว และวันนี้ก็ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นนั้น

 

ความขาดแคลนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างทั่วไป กดดันให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ของชาวอิสราเอลที่อพยพออกไปนอกประเทศ ซึ่งมีรายงานข่าวว่าได้อพยพออกไปแล้วหลายแสนคน และสภาพภายในเองปัจจุบันนี้ก็อยู่ในภาวะสงครามที่ไม่ต้องทำมาหากินกันอีกแล้ว จึงเป็นสภาพที่กดดันอย่างยิ่ง

 

เรือบรรทุกเครื่องบินไอเซนฮาวร์ ภาพจาก MGR online

 

ดังนั้นเมื่อกองเรือบรรทุกเครื่องบินไอเซนฮาวร์ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจมาแต่ยุคประวัติศาสตร์ต้องถูกสั่งให้ล่าถอยออกไปเพราะเกิดความเสียหายแล้วก็ยังดำรงภารกิจในการปกป้องคุ้มครองการขนส่งลำเลียงต่าง ๆ อยู่เหมือนเดิม ดังนั้นสหรัฐจึงจำเป็นต้องส่งกองเรือชุดใหม่คือกองเรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์ซึ่งเป็นกองเรือที่มีขนาดใหญ่กว่าและทันสมัยกว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินไอเซนฮาวด์มากมายนัก แต่กองเรืออันใหญ่โตนี้ก็ยังต้องพกความระแวดระวังและความหวาดผวาว่าจะถูกโจมตตีจากขบวนการฮูตี เพราะถ้ากองเรือรูสเวลต์ยันภารกิจนี้ไม่ได้ก็จะเป็นบทพิสูจน์ชัยชนะและปราชัยของสงครามพายุอัลอักซอที่เด่นชัดขึ้น ณ เวลานั้น

 

ดังนั้นการปฏิบัติภารกิจของกองเรือรูสเวลต์จึงเป็นที่สนใจจับตาของชาวโลกว่าจะสามารถรักษาความปลอดภัยของตนเอง และปกป้องคุ้มครองการขนส่งลำเลียงต่าง ๆ เข้าออกอิสราเอลหรือไม่ จนอาจกล่าวได้ว่าจุดนี้คือจุดชี้ขาดของชัยชนะและปราชัยของสงครามพายุอัลอักซอนี้

 

ขณะนี้กองเรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์ได้เดินทางไปถึงทะเลแดงแล้ว ในขณะที่ขบวนการฮูตีประกาศต่อสาธารณะอย่างชัดเจนว่าจะยืนหยัดภารกิจในการโจมตีเรือขนส่งลำเลียงทั้งหลาย รวมทั้งกองเรือของสหรัฐต่อไปจนกว่าจะบรรลุภารกิจในการขับไล่ผู้รุกรานออกจากปาเลสไตน์

 

เรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์ (ภาพจาก ฐานเศรษฐกิจ)

 

ดังนั้นสถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นที่จับตาทั่วโลก และบัดนี้ระฆังยกที่หนึ่งก็ดังขึ้นแล้ว นั่นคือรายงานข่าวที่ปรากฏชัดว่าเมื่อกองเรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์ไปถึงทะเลแดงก็มีการเดินเรือขนส่งสินค้าหลายลำเข้าไปในพื้นที่เพื่อไปยังอิสราเอล ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะได้รับความคุ้มครองจากกองเรือรูสเวลต์โดยปลอดภัย

 

ปรากฏว่าขบวนการฮูตียังคงยืนหยัดภารกิจโจมตีทั้งกองเรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์และกองเรือบรรทุกสินค้าตามที่ได้ประกาศไว้ทุกประการ เมื่อสิ้นระฆังยกที่หนึ่งปรากฏว่าฮูตีสามารถจมเรือบรรทุกสินค้าได้อีก 2 ลำ โดยที่กองเรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์ปกป้องคุ้มครองอะไรไม่ได้

 

ในขณะเดียวกัน กองเรือบรรทุกเครื่องบินเองก็ถูกโจมตีหลายระลอกจากขบวนการฮูตี แต่ด้วยความทันสมัยของอาวุธในการต่อต้านการโจมตีจึงสามารถสกัดการโจมตีเอาไว้ได้

 

ภาพจาก : BBC NEWS ไทย

 

แต่นั่นก็เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เพราะสถานการณ์นั้นไม่นิ่ง ยังคงผันแปรต่อไป ความรุนแรงและความทันสมัยของอาวุธของฮูตีและปริมาณการโจมตีประเภทต่าง ๆ ที่โหมมากขึ้น จนกระทั่งเกินกำลังที่จะป้องกันหรือสกัดได้เกิดขึ้นเมื่อใด ก็จะเกิดความเสียหายแก่กองเรือบรรทุกเครื่องบินรูสเวลต์เมื่อนั้น

 

และจุดผันแปรของสถานการณ์นั้นบางครั้งก็เกิดขึ้นในชั่วพริบตาเดียวเท่านั้น ดังนั้นสถานการณ์ในทะเลแดงปัจจุบันนี้จึงต้องถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลมและส่งผลสะเทือนที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคนั้น.

 

cr. facebook Paisal Puechmongkol

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดภาพเก่าเล่าอดีต

เรื่องล่าสุด