เส้นทางปูพรมของ “วราวุธ ศิลปอาชา”
ระยะนี้มีข่าวครึกโครมถึงการเปลี่ยนแปลงของ “หนังสือพิมพ์บ้านเมือง” หนังสือพิมพ์รายวัน ที่ถือกำเนิดในโลกบรรณพิภพมายาวนานเกือบ 30 ปี
หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อ “บรรหาร ศิลปอาชา” อดีตนายกรัฐมนตรี และ “หัวหน้าพรรคชาติไทย” ยืนเป็นเงาถือหุ้นอยู่ด้วย
อดีตนั้นมีนักการเมืองกระเป๋าตุงมากหน้าหลายตาก้าวเข้ามาคุมบังเหียน “สื่อ” เพื่อเป็นกระบอกเสียงปกป้องธุรกิจในเครือและครอบครัว
บ้างก็เป็นเงาทะมึนอยู่เบื้องหลังกิจการหนังสือพิมพ์ ฉบับต่าง ๆ
ตั้งแต่ “พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช” ที่เข้าบุกเบิกสร้างหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” รุ่นเหรียญสตางค์แดง
“สตางค์แดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ “แบงก์กรุงเทพพาณิยชการ” ที่ล่มสลาย
“สมัคร สุนทรเวช” ก็เคยยืนโดดเด่น “มุมน้ำเงิน” สร้าง “เดลิมิเรอร์” จนโด่งดัง เช่นเดียวกับ “ไทยเดลี่” ที่ “ทวิช กลิ่นประทุม” ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง กระทั่งขนหน้าแข้งร่วงไปหลายเส้น
“เสียงปวงชน” เคยถูกขนานนามว่าเป็น “เสียงปองพล” ระยะหนึ่ง ก่อนที่ “ดาวสยาม” หนังสือพิมพ์หัวแสด จะรุ่งโรจน์ด้วยเม็ดเงินก้อนแรกจาก “บุญชู โรจนเสถียร์” ซึ่งประสานมีเฟื่อง ศาสตร์” จูงมือ “กะแซ่” “สีเสียด” ยืนหยัดอยู่แถวหน้าได้หลายปี
ไม่นับถึง “เดลิไทม์” หัวสีบานเย็นปักหลักอยู่ย่าน “กล้วยน้ำไท” อันเป็นอาณาจักรของ “เสี่ยเสรี ทรัพย์เจริญ” แห่งบริษัท “ราชาเงินทุน” ในอดีต
และรวมถึง หนังสือพิมพ์ “เจ้าพระยา” ที่รัฐบาล “หอยเน่า” เป็นเจ้าของตั้งบนแผงหนังสือสิริรวมอายุได้ไม่ถึงขวบปี
วันนี้หนังสือพิมพ์ “บ้านเมือง” ได้ถึงวาระแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการก้าวมาของผู้บริหารชุดใหม่
“วราวุธ ศิลปอาชา” ทายาทโทนของ “บรรหาร ศิลปอาชา”
“ท็อป” หรือ “วราวุธ” มีเส้นทางชีวิตแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับพ่อ “บรรหาร” เนื่องจากเขาเกิดและเติบโตมากับความพร้อมบริบูรณ์ในทุกด้าน ไม่เหมือนกับตำนานชีวิตของผู้เป็นพ่อซึ่งผ่านความลำเค็ญมาก่อน
“ท็อป” เรียนที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ยังไม่ทันจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก็จงใจปิดฉากลง
เป็นการปิดฉากการเรียนการสอนในเมืองไทย โดยไปเริ่มต้นเป็นนักเรียนนอกที่อังกฤษ และ สหรัฐอมริกาที่ “ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ วิสคอนชิน”
เขาจบ MBA สาขาการเงิน คว้าปริญญาโทมาด้วยดวามภาคภูมิใจ ด้วยความหวังที่จะเป็นนักการมืองรุ่นใหม่ เดินตามรอยเท้าผู้เป็นพ่อ ถึงวันนี้ “แวดลงแมลงวัน” ต่างจับตามองบทบาทของเขา
บทบาทบนเส้นทางสายใหม่ของโลก “หนังสือพิมพ์”
ลายพาดกลอน