การเมือง

“คดีลุงขโมยนุ่น“ ความยุติธรรมต้องมาก่อนกฎหมาย


21 กุมภาพันธ์ 2025, 17:14 น.

 

ยังคงมีความหวังกับการเมืองไทย ทำความรู้จักกับ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ผ่านรายการชุด ‘จุดไฟในพายุ เดอะ ซีรีส์’ ที่จะทำให้รู้จักกับ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะจุดเปลี่ยน จุดตัดสินใจ ที่ทำให้เปลี่ยนบทบาทจาก ‘ผู้พิพากษา’ สู่ ‘นักการเมือง’ เดินหน้าสู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม

 

ภารกิจสู้กับความไม่เป็นธรรม บนเงาเวลาของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’

 

ช่วงที่ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ยังคงมีสถานะผู้พิพากษาของศาลจังหวัดตาก ในช่วงนั้นทำให้ ‘พีระพันธุ์’ บนบัลลังก์ตัดสินคดีได้พบปัญหาของสังคมไทยอีกหนึ่งอย่างที่ไม่มีการสอนในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือ แม้กฎหมายจะบอกว่าทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย แต่ในข้อเท็จจริงไม่มีชาวบ้านที่รู้กฎหมายทุก ๆ ข้อ เพราะสิ่งที่ชาวบ้านรู้ คือ จะต้องทำยังไงให้มีชีวิตรอดไปได้ในแต่ละวัน ทำยังไงจะมีกินมีใช้ ทำยังไงที่จะสามารถเก็บรักษาเงินที่หาได้มาให้ได้นานที่สุด

 

ทำให้ในแต่ละวันของการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน อาจจะมีบางการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งหลายครั้งเมื่อมองจากสถานะผู้พิพากษา ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ จะเห็นชาวบ้านต้องรับเคราะห์ถูกปรับ ถูกจำกัดเสรีภาพภายในเรือนจำ ด้วยความที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไปเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้ ‘ผิดกฎหมาย’ 

 

ทั้งที่สิ่งที่เกิดขึ้น หรือประชาชนได้กระทำเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ซึ่งในมุมมองของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ คิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดในสังคมไทย เพราะเรื่องเหล่านี้จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนในสังคมว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ ‘ไม่เป็นธรรม’

 

หนึ่งในเคสที่เกิดขึ้นจริง และมี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ในฐานะผู้พิพากษาศาลจังหวัดตาก คือ เรื่องราวของลุงขโมยนุ่น โดยพีระพันธุ์เล่าอย่างย่อไว้ว่า 

 

ขณะที่ตนทำหน้าที่ผู้พิพากษามี 1 คดีที่ตนจะต้องพิจารณา  ซึ่งมีลุงคนหนึ่งซึ่งขณะนั้นอายุ 70 ปี ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาในข้อหาลักทรัพย์ คือ ขโมยนุ่น โดยลุงคนนี้รับสารภาพมาโดยตลอด 

 

หากเป็นกรณีปกติทั่วไป ผู้พิพากษาในขณะนั้นมีหน้าที่เพียงอย่างคือใช้อำนาจในฐานะผู้พิพากษาชี้ลงไปว่าลุงคนนี้จะต้องจำคุกกี่วัน กี่เดือน กี่ปี หรือต้องจ่ายค่าปรับเท่าไหร่

 

แต่ในมุมมองของพีระพันธุ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะลุงอายุเกิน 70 ปีแล้ว ทำไมจะต้องถูกพรากอิสรภาพในช่วงวัยนี้ และอะไรคือเหตุผลที่ลุงต้องขโมยนุ่น จึงทำให้พีระพันธุ์เปลี่ยนแนวทางจากการใช้อำนาจกำหนดโทษ พีระพันธุ์ตัดสินใจที่จะไต่ถามลุงคนนั้นว่า ลุงรู้ไหมว่าที่ทำไปเป็นความผิด จะต้องติดคุก โดยลุงตอบกลับว่า ไม่รู้ 

 

พีระพันธุ์จึงต้องถามต่อไปว่า แล้วลุงไปเอานุ่นของคนอื่นมาจริงไหม โดยลุงตอบว่าไปเอามาจริง แต่นุ่นเนี่ยมันอยู่ในกระสอบที่ถูกวางไว้ข้างนอกโรงงานริมรั้วของโรงงานผลิตหมอน ผลิตฟูก ลุงจึงเข้าใจว่าในกระสอบเป็นของที่โรงงานทิ้งแล้ว ไม่เอาแล้ว ลุงจึงจะเอานุ่นในกระสอบไปยัดหมอนที่บ้านของแกเพื่อจะนอน ซึ่งลุงไม่รู้ว่าจะต้องมีคดีความ อาจจะติดคุกเพียงเพราะหานุ่นใส่หมอนนอน 

 

เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงทั้งหมด ผู้พิพากษาที่มีชื่อว่า ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ จึงบอกลุงว่า ในเรื่องนี้ลุงไม่มีความผิด จากข้อเท็จจริงลุงไม่ควรต้องสารภาพด้วยซ้ำ เพราะในคดีลักทรัพย์ที่เป็นคดีอาญา จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อมี 3 อย่างครบ คือ ต้องเจตนา คือ คิดว่าจะเอานุ่นของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ต่อมาเมื่อคิดแล้วก็ต้องตัดสินใจ และที่สำคัญที่สุดคือต้องทำตามที่คิดและตัดสินใจ 

 

แต่กรณีนี้ลุงทำไปเพราะไม่มีเจตนา เพราะลุงคิดว่านุ่นที่ใส่กระสอบวางไว้นอกโรงงานคือของที่เขาทิ้งแล้วจึงเอาไป ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปสามารถเชื่อได้ ในวันนั้นในคดีนี้ที่ถูกตัดสินโดยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จึงมีคำพิพากษา ‘ยกฟ้อง’ คุณลุงไม่ต้องติดคุกจากการนำนุ่นมาใส่หมอนนอน 

 

สิ่งเหล่านี้ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นในอีกหลาย ๆ มุมทั่วประเทศ ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นกับผู้คนอีกกี่คน นี่เป็นเพียงกรณีที่เกิดขึ้นในสายตาของพีระพันธุ์ โดยพีระพันธุ์ยังกล่าวต่ออีกว่า ในประเทศไทยยังมีคนที่ด้อยโอกาส คนที่ไม่มีความรู้ ที่ถูกกระทำจากความไม่รู้ สิ่งเหล่านี้ได้ค้างคาอยู่ในใจของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ตลอดมา ว่าจะต้องสู้กับความไม่เป็นธรรมเหล่านี้

 

“ถ้าสามารถทำกฎหมาย เขียนกฎหมาย ให้เป็นกติกาที่เป็นธรรม ที่ถูกต้อง คนที่ด้อยโอกาสก็จะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องมีใครมาช่วย ดังนั้นผมถึงบอกว่ากฎหมาย มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดสําหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์นะครับ หรือว่าการคงอยู่ของความเป็นธรรมของประเทศ” พีระพันธุ์กล่าว 

 

พีระพันธุ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า “ผมเชื่อครับว่ายุติธรรม ค้ำจุนชาติ ถ้าเราไม่มีความยุติธรรม ความรู้สึกของคนไม่รู้สึกว่าสังคมนี้บ้านเมืองนี้ มีความเป็นธรรม มีความยุติธรรมกับเขา อยู่กันไม่ได้หรอก มันจะเกิดเรื่องขึ้นตลอดเวลา” 

 

จุดตัดสินใจให้เปลี่ยนเส้นทาง 

 

พีระพันธุ์ ยังระบุต่ออีกว่า เขาไม่เคยสนใจการเป็นนักการเมือง แต่สิ่งที่สนใจคือการดูแลผู้คน การช่วยเหลือผู้คน และการดูแลบ้านเมือง ตามแบบอย่างที่คุณพ่อของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ได้สอน 

 

ในปี 2535 เป็นหนึ่งในช่วงปีที่ทำให้อุดมการณ์ ทำให้สิ่งที่ต้องการให้เกิดกับชาติในมุมมองของพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 หากทุกคนหันหลังให้กับบ้านเมือง หันหลังให้กับการเมือง สังคมการเมืองก็จะมีแต่คนที่ไม่เหมาะสมที่จะเข้าไปทำงานในส่วนนี้ และถ้าทุกคนรังเกียจ ทุกคนไม่มา หากทุกคนที่อยู่ในวงการการเมืองคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว คิดถึงผลประโยชน์ของพรรคการเมือง สุดท้ายบ้านเมืองจะไม่สามารถอยู่ได้ ถ้าไม่มีการสู้จากคนดี

 

ซึ่งพีระพันธุ์มีมุมมองว่า ตนเองไม่ใช่คนที่คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว คิดถึงแต่ประโยชน์ของพรรคการเมือง พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่น ความตั้งใจทำงานให้กับบ้านเมือง หากทิ้งวงการการเมืองไป จะต้องยอมรับว่าสังคม การเมือง มันจะต้องเป็นแบบนี้ เพราะทุกคนที่มีความมุ่งมั่น ที่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ไม่ยอมเข้ามาทำงานเพื่อประเทศ และไม่มีสิทธิ์จะไปว่าสังคม ว่าการเมืองว่าไม่ดี เพราะคนที่ตัดสินใจแบบนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเช่นกัน

 

นอกจากนี้ในบทบาทผู้พิพากษาของพีระพันธุ์ยังไม่สามารถทำสิ่งที่อยากทำ ตามความรู้ ตามมุมมองที่เห็นโดยเฉพาะจากต่างประเทศที่ได้ไปเรียนต่อมา ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่โดยเฉพาะในศาลต่างแนะนำว่าสิ่งที่เสนอไปหลายครั้งเป็นสิ่งที่ถูก แต่ต้องอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ 

 

สุดท้าย ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ จึงต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า ที่ไปเรียนมา โดยเฉพาะในต่างประเทศ การไปเรียนดังกล่าวเพื่ออะไร เพื่อตนเองมีหน้ามีตา มีตำแหน่งใหญ่โต แต่ไม่สามารถช่วยเหลือสังคมได้ หรือเราเรียนเพื่อเอาความรู้ความสามารถช่วยเหลือสังคม  

 

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงทำให้ผู้พิพากษาที่มีชื่อว่า ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางในทางอาชีพ สู่การเป็นนักการเมือง เพื่อเป็นหนึ่งในทางเลือกการเป็นนักการเมืองที่ดี ที่เป็นหนึ่งในตัวเลือกของผู้คนในการทำงานเพื่อสังคม เพื่อพี่น้องประชาชน และเพื่อทำให้กฎหมายเป็นธรรมอย่างที่ตนอยากเห็น

 

นักการเมืองในสไตล์ ‘พีระพันธุ์’ 

 

ตั้งแต่เป็นนักการเมืองมา จะไม่เห็นคำด่า หรือวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองคนอื่น พรรคการเมืองพรรคอื่น หลุดออกจากปากของ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ด้วยเหตุผลที่ตัวของพีระพันธุ์ระบุว่า เพราะการทำแบบนั้นไม่ได้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ และประชาชน เนื่องจากตนทำงานนี้เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับบ้านเมืองและพี่น้องคนไทย

 

Cr. Facebook : พรรครวมไทยสร้างชาติ United Thai Nation Party

 

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดการเมือง

เรื่องล่าสุด