ข่าวประชาสัมพันธ์

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนภาครัฐและเอกชน ถกแนวทางอนาคตพัฒนาทักษะแรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง-โลจิสติกส์-บริการ รองรับโครงการ Land Bridge


26 ธันวาคม 2024, 14:31 น.

 

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระดมสมองถกแนวทางพัฒนากำลังคนพื้นที่ Land Bridge

 

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนภาครัฐและเอกชน ถกแนวทางอนาคตพัฒนาทักษะแรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง-โลจิสติกส์-บริการ รองรับโครงการ Land Bridge

 

 

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 นายเดชา พฤกษ์พัฒนารักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานการประชุมเชิงวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (โครงการ Land Bridge) ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

นายเดชา พฤกษ์พัฒนารักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวภายหลังเปิดการประชุมว่าโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม ที่ต้องการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเล ได้แก่ ที่แหลมอ่าวอ่าง จ.ระนอง (ฝั่งทะเลอันดามัน) และที่แหลมริ่ว จ.ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) ให้เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ ส่งเสริมการขนส่งทางน้ำให้มีความทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับนานาชาติ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ สามารถ ลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าลงเหลือ 5 วัน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า 15 เปอร์เซ็นต์ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีก 280,000 อัตรา และเพิ่ม GDP ของประเทศอีก 5.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

 

นายเดชา พฤกษ์พัฒนารักษ์ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลที่กล่าวมาในข้างต้น ในพื้นที่จึงมีความต้องการกำลังแรงงานฝีมือเป็นจำนวนมากทั้งในด้านอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมภาคบริการ และเพื่อพัฒนาแรงงานฝีมือให้ตอบโจทย์ในพื้นที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางบก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท เอสซีจีสกิลส์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เป็นต้น ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน การจ้างงาน และใช้เป็นข้อมูลประกอบของบประมาณของโครงการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานอีกด้วย

 

“ซึ่งข้อมูลยังเป็นตัวบ่งชี้การพัฒนาทักษะอาชีพให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบกิจการในพื้นที่ เช่น ช่างคอนกรีตเสริมเหล็ก พนักงานประจำท่าเรือ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ควบคุมเครื่องจักรกลหนัก และทักษะ Soft Skills และทักษะดิจิตอล โดยกรมฯ จะนำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนพัฒนากำลังคนในพื้นที่ต่อไป” อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าว

 

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่องล่าสุด