“เรื่องราวของเงาะป่าซาไก จากขุนเขาดงดิบเมืองพัทลุง ถูกนำไปเลี้ยงให้เชื่อง เป็นมหาดเล็กในวังฯ เป็นที่โปรดปรานฯ ยิ่งนัก แต่เมื่อเติบโตขึ้น เป็นที่อิจฉา จากบรรดานางสนม บริวารผู้ใกล้ชิด กระทั่งติดโรคผู้หญิงโคมเขียว หายสาปสูญ ไร้ร่องรอย”
นายคนัง เป็นเงาะป่าซาไก “เผ่าก็อย” ผู้มีวาสนา กลายเป็นมหาดเล็กพิเศษ ของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เฝ้ารับใช้ใกล้ชิด ถึงเรียกพระองค์ว่า ” พ่อ “ มีที่มาของพระราชนิพนธ์ ” เงาะป่า “ ที่โด่งดัง
เจ้าจอมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เขียนเรื่อง “คนัง” บางตอนไว้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองพัทลุง เมื่อ ร.ศ. 108 (2432 ) ได้ทรงเห็นภาพ พวกเงาะป่า ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ชายหญิง หลายรูป
ได้ทรงสังเกตุรูปพรรณสัณฐาน บุคคลิก ลักษณะพวกเงาะป่า อย่างถี่ถ้วน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ด้วยความสนพระทัย จึงมีพระราชดำริ ใคร่จะทรงเลี้ยง “เงาะป่า” ดูบ้าง
จึงมีพระกระแส จึงให้ พระยายมราช (ปั้น สุขุม) สำเร็จราชกาล มณฑลนครศรีฯ ให้หาลูกเงาะป่า ส่งไปถวายสักคนหนึ่ง
“ทรงกำชับ มิให้ กะเกณฑ์จับกุม ให้เอิกเกริก จนตกใจ พากันเตลิด เปิดโปงไป โดยให้ใช้วิธีละมุนละม่อม”
ทางผู้ว่าฯ นายอำเภอ และ ผู้แทนกำนันในพื้นที่ วางแผน ใช้ดอกไม้สีแดง หลอกล่อ มาชมมโนราห์ เตรียมข้าวสุก กล้วยนํ้าว้า ให้กิน
เมื่อ “คนัง” กับน้องชาย ดูมโนราห์ จนอ่อนเพลีย หลับไหล จึงถูกจับใส่กระสอบ ดิ้นขลุกขลักชั่วครู่
การส่งตัวเข้าถวายนั้น ต้องรับส่งกันเป็นระยะ มิให้ เป็นไข้ได้ป่วย มีจุดพัก ที่นครศรีฯ – สุราษฏร์ – ประจวบคีรีขันธ์..
กว่าถึงเมืองหลวง ใช้เวลานานนับเดือน ได้ให้ พระวิมาดาเธอ พระสุทธาสินีนาฏฯ ทรงรับเลี้ยงดู มีสตรีวัยกลางคนนามว่า “พวง” เป็นพี่เลี้ยง คอยประคบประหงมอย่างดี เพราะ “คนัง” เริ่มหงอยเหงา แปลหน้า แปลกถิ่น ไม่ยอมกินอะไร ?
เครื่องใช้ไม้สอย ที่พระที่นั่งวิมาณเมฆ ทั้งเตียงนอนเด็ก ผ้าปูที่นอน หมอนมุ้ง ล้วนเย็บ เป็นพิเศษ ด้วย “ผ้าแดงทั้งสิ้น” สมบรูณ์แบบ เหมือนของเจ้านายสมัยนั้น ไม่มีผิด
เข้าวังวันแรก “คนัง” ตื่นตาตื่นใจ เพราะคนในวังที่รู้ข่าว แห่กันมา เอะอะเกรียวกราว ห้อมล้อม มุงดู ทำให้ “คนัง” ตกใจ แกล้งล้มตัวลงนอน ทำท่า ชัก “ตีนงุ้มกำมือแน่น” จึงเอากล้วยสุก ยื่นให้ รีบลุกมากินทันที
“นายคนัง” ได้รับการปรนเปรออาหาร อย่างดี มีการฝึกใช้ซ้อนซ่อม ฝึกสอนเรียนรู้ระเบียบของสำนัก แม้จะฉลาด แสนรู้ แต่ระยะแรกก็ไม่ได้ผล
นายคนัง ตื่นแต่เช้า ชอบลงไปเล่นนํ้าในคลอง หลังพระที่นั่งอัมพรฯ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ฯ ในรัชกาลที่ 5 ทรงเขียนว่า…
“นิสัยน่าเกลียด ก็ตอนเล่นนํ้านี่แหละ เล่นนํ้าทีไรเป็นดำนํ้า แล้วถ่ายอุจจาระออกมา ขณะดำนํ้า ประจำ แต่แปลก ที่ไม่เคยมีอุจจาระ กองอยู่บนหัว แกดำหนีไปเสียไกล แล้วจึงโผล่”
พอโผล่ขึ้นมา ก็ไปนั่งเอาก้น ไถไปไถมากับเชือกผูกเรือ อาการอย่างนี้ใกล้ทางสัตว์มากกว่าคน เรื่องอุจจาระในนํ้านี่ ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง เวลาแกอยู่ในพระราชวัง ต้องนั่งถ่ายในหม้อ พอถ่ายเสร็จ จะให้ล้างนํ้าเป็นไม่ยอม เช็ดด้วยกระดาษ ก็ไม่ยอมอีก ” ต้องใช้ไม้เช็ด ” !
นายคนัง ได้รับการอบรมสั่งสอน นานพอดู กว่าได้เข้าเฝ้าฯ ไม่ว่าจะพูด จะออกอาการ กับใครอย่างไร ไม่มีใครถือสา ถือเสียว่า เป็นคนป่า ไม่รู้จักขนบธรรมเนียม กริยาท่าทาง จะเป็น “ครึ่งลิงครึ่งคน” ทำอะไรก็น่าเอ็นดู ขบขันไปหมด เจ้าจอมฯ บรรยายฯ
ยิ่งนานวัน เป็นที่ประจักษ์ว่า “นายคนังเป็นเด็กฉลาด” รู้จักประจบประแจง เรียกพระพุทธเจ้าหลวงว่า “คุณพ่อหลวง” เรียกพระวิมาดาเธอฯ ว่า “คุณแม่” แต่มักเรียกข้าหลวงอื่นๆ ตามพระพุทธเจ้าหลวงว่า “อ้าย” เกือบทุกคน ส่วนผู้หญิง จะเรียกว่า “อี “
ชีวิตในวังฯ แตกต่าง ชีวิตในป่าสิ้นเชิง “คนัง” ได้รับการโปรดปราน จากพระพุทธเจ้าหลวงมาก พระองค์ให้ “ช่างภาพฝรั่ง” ถ่ายรูปนายคนัง ชุดมหาดเล็ก ไปจำหน่าย ในงานประจำปี “ภูเขาทอง” ขายดิบขายดี มีเงินใช้มากมาย โดย แบ่งกับวัดครึ่งหนึ่ง ทำให้ มหาดเล็ก “คนัง” มีเงินทอง เหลือใช้ เป็น “คหบดีย่อยๆ” คนหนึ่ง
ถึงเวลา เมื่อ “คนัง” อายุ 14-15 ปี ก็ไม่สามารถ อยู่อาศัยในวังชั้นในได้ ต้องออกมาชั้นนอก เข้าเวรวัง มีอายุเป็นหนุ่ม นมเริ่มแตกพาน วัยคะนอง เมื่อมีเงินมาก ถูกชักชวน ไปท่องราตรี แถวเสาชิงช้า ” สถานเริงรมณ์โคมเขียว “ จนลุ่มหลง ไม่คิดเข้าเวรมหาดเล็ก ดังเดิม ถูกทำโทษหงายครั้งไม่เข็ดหลาบ
“ตราบจนกระทั่ง เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวงฯ เสด็จสวรรคต ชีวิต คนัง ก็เปลี่ยนไป กลายเป็น หนุ่มเสเพลนักเที่ยว ติดโรคผู้หญิง งอมแงม เมื่อหมดเงินทอง ก็ไร้เพื่อน กระทั่งหายสาปสูญไร้ร่องรอย”