ไฮไลท์

ไทยจัดการประชุมใหญ่สมาคมศาลรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 6 โดยมี 14 ประเทศเข้าร่วม


12 กันยายน 2024, 16:35 น.

 

ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ครั้งที่ ๖

 

 

วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งในเจ็ดประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) และปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวม ๒๑ ประเทศ โดยศาลรัฐธธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมศาลรัฐธธรรมญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AAAC) ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๘ และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๑ กันยายน ๒๕๖๗ ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นการประชุมวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญระดับนานาชาติครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยจะมีศาลรัฐธรรมนูญจากประเทศต่าง ๆ และสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเซียเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ จำนวน ๑๔ ประเทศ ได้แก่
๑. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
๒. ศาลฎีกาแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
๓. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
๔. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
๕. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
๖. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐคีร์กีช
๗. ศาลสหพันธรัฐแห่งประเทศมาเลเซีย
๘. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศมองโกเลีย
๙. ศาลรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
๑๐. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งรัฐปาเลสไตน์
๑๑. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
๑๒. ศาลสูงสุดแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
๑๓. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐทูร์เคีย
๑๔. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอุชเบกิสถาน

 

สำหรับการประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๑ กันยายน ๒๕๖๗ ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักว่า “ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางฐัธธธรรมญูเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” โดยมีศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และในฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเทียบเท่าแห่งเอเชีย ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมทั้ง ๒ รูปแบบในครั้งนี้ ได้แก่ การประชุมใหญ่ (Congress) ซึ่งเป็นการจัดประชุมระหว่างประเทศภายได้กรอบการดำเนินการของสมาคมศาลรัฐธรรมญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอบทความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลักนิติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ของบรรดาประเทศสมาชิก (Members) ผู้สังเกตการณ์ (Obsenvers) และแขกผู้ได้รับเชิญ (Guests) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีหน้าที่จัดการประชุมใหญ่ (Congress) และการประชุมคณะกรรมการสมาชิก (Board of Members Meeting : BoMMM) ซึ่งเป็นการประชุมเชิงบริหารของสมาคม เพื่อรับรองหรือตัดสินใจร่วมกันเฉพาะประเทศสมาชิกสมาคม (Members) จำนวน ๒๑ ประเทศ เช่น การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับรองปฏิญญา การแก้ไขข้อบังคับสมาคม เป็นต้น

 

 

ในฐานะประธานการประชุม ศาลรัฐธธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่เตรียมหัวข้อหลัก (Theme) และหัวข้อย่อย (Subthemes) ซึ่งใช้ในการประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๖ ประกอบด้วย หัวข้อหลัก “ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยังยืน” และกำหนดหัวข้อย่อย (Subthemes) จำนวน ๓ หัวข้อ และในฐานะประธานการประชุมมีสิทธิที่จะเสนอชื่อบุคคลจำนวน ๓ คน เพื่อให้ทำหน้าที่ประธานการประชุมหัวข้อย่อยได้โดย ๓ หัวข้อที่กำหนด ได้แก่
(๑) บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
(๒) พัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อความยุติธรมที่ยังยืนในโลกที่เปลี่ยนแปลง
(๓) ความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญในฐานะรากฐานของการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

 

นอกจากนี้ การประชุมในครั้งนี้ยังมีสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจัดทำปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) โดยศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในฐานะประธานการประชุม จะเป็นผู้จัดเตรียมร่างปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเป็นเอกสารแสดงถึงความสำเร็จของการจัดการประชุมใหญ่และการประชุมคณะกรรมการสมาชิกในประเทศไทย ทั้งนี้ เมื่อร่างปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Dedaration) แล้วเสร็จศาสรัฐธรรมนูญแห่งราชอามาจักรไทยจะจัดส่งไปยังบรรดาประเทศสมาชิกก่อนการประชุมคณะกรรมการมการสมาชิกในวันแรก (Initial BoMM) ในห้วงของการจัดการประชุมใหญ่ (Congress) เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกสามารถปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมใหญ่และการประชุมคณะกรรมการสมาชิก โดยร่างปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Banekok Declaration) ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสมาชิก จะมีการลงนามในการประชุมคณะกรรมการสมาชิกในวันสุดท้าย (Final BoMM) ก่อนพิธีปิดการประชุมใหญ่ (Congress) และออกแถลงการณ์ร่วมกันในพิธีปิดการจัดประชุมใหญ่ดังกล่าวด้วย

 

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดไฮไลท์

เรื่องล่าสุด