4 การได้มาซึ่งที่ดินของวัด แตกต่างจากบุคคลธรรมดา เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมายพิเศษคือกฎหมายคณะสงฆ์จึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ประเภท
~ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปว่า เมื่อเจ้ามรดกตาย ให้ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท แต่หลักกฎหมายทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ยังมีเพิ่มเติมอีก คือเงื่อนไขบังคับก่อนนั่นคือถ้ามีเงื่อนไขบังคับก่อนไว้ในพินัยกรรม ว่าให้ต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน เช่น ต้องจดทะเบียนสิทธิ์เก็บกินให้แก่ทายาทอื่นหรือบุคคลอื่นก่อน จึงให้ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้รับพินัยกรรมก็บังคับได้ตามกฎหมาย
~ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ 2505 ซึ่งบัญญัติว่า การได้มาซึ่งที่ดินของวัดนั้น ถ้า หากเกิน 50 ไร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน หมายความว่า การได้รับมรดกของวัด ก็ดีหรือการได้มาโดยวิธีอื่นก็ดี ถ้าหากมีผลให้วัดมีที่ดินเกิน 50 ไร่แล้ว จะต้องขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะรับโอนได้
กรณีที่ดินมรดกของยายเนื่อม จึงต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายดังกล่าว เพราะวัดธรรมิการามมีที่ดินเดิมอยู่ประมาณ 250 ไร่แล้ว เกินกว่าจำนวน 50 ไร่ที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ถ้าจะรับที่ดินหรือได้มาซึ่งที่ดิน เกินจากจำนวนนี้เพิ่มเติม ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน และตราบใดที่รัฐมนตรีมหาดไทยยังไม่อนุญาต กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นก็ยังไม่ตกแก่วัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะต้องปฏิบัติหรือบังคับตามกฎหมายพิเศษคือกฎหมายคณะสงฆ์ก่อน
รัฐบาลเคยหารือกฤษฎีกาในเรื่องนี้หลายครั้ง โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตั้งคณะพิเศษขึ้นพิจารณา ทุกครั้ง มีนายมีชัย ฤชุพันธ์เป็นประธาน แต่คำถามอาจจะแตกต่างกัน แบบเดียวกับกรณีของนายกเศรษฐา ทวีสิน คือ สำนักงานกฤษฎีกาจะตอบตามคำถามที่ถาม ดังนั้น บางครั้ง สำนักงานกฤษฎีกาก็ตอบว่า ที่มรดกยังไม่ตกแก่วัดธรรมิการาม โดยจะต้องขออนุญาตรัฐมนตรีมหาดไทยก่อน เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยไม่อนุญาตที่ดินนั้นก็ไม่ตกทอดแก่วัด สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้โดยไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ แต่ครั้งล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยว่า ต้องถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือเมื่อเจ้ามรดกตาย ที่ดินมรดกจะตกแก่วัดธรรมิการามทันที เมื่อที่ดินตกเป็นของวัดแล้วก็จะจำหน่ายจ่ายโอนโดยวิธีการใดๆ ไม่ได้ นอกจากต้องออกพระราชบัญญัติ ผลจากการวินิจฉัยนี้ อธิบดีกรมที่ดินจึงมีคำสั่งให้เพิกถอน โฉนดที่ดิน มรดกรายนี้ ทั้งหมด คือเพิกถอนการโอนช่วงแรก จากผู้จัดการมรดก คือมูลนิธิมหามกุฎ ซึ่งโอนแก่บริษัทของคุณหมอบุญ หรือบริษัทอัลไพร์ และเพิกถอนการโอนช่วงที่ 2 ที่โอนจากบริษัทอัลไพน์ แก่ชาวบ้านที่ซื้อบ้านจัดสรร จากบริษัทอัลไพร์ หลายร้อยราย
แต่อธิบดีกรมที่ดิน ยังไม่สามารถเพิกถอนได้ เพราะกรมที่ดินจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกราย เพราะบรรดาผู้เสียหายเหล่านั้น เขาซื้อจากการเชื่อถือการจดทะเบียนของกรมที่ดิน แต่กรมที่ดินหางบประมาณไม่ได้ เรื่องจึงค้างคาอยู่ จนกระทั่งนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ มาเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย เห็นว่า จะเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้ เพราะรัฐมนตรีมหาดไทยไม่อนุญาต ให้วัดรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดก จึงเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์นั้นเสีย และเป็นเหตุให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐและพวก รวมทั้งนายเสนาะ เทียนทอง ถูก ปปช. ตรวจสอบไต่สวนและ ฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายเสนาะ เทียนทอง ได้ตั้งให้นายไพศาล พืชมงคล เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาของทนายความ ในการต่อสู้คดี เพราะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และศาลฎีกา ได้พิพากษายกฟ้องเพียงคนเดียว ส่วนที่เหลือทุกคนพิพากษาจำคุก
Cr. เฟซบุ๊ก “Paisal Puechmongkol”, ภาพปกจาก Kolfers.com