ภาพเก่าเล่าอดีต

ทำไมไทยไม่มี “สภาศิลปิน” เหมือนวิชาชีพอื่น?


22 มิถุนายน 2024, 18:08 น.

 

ประเทศไทยมีศิลปินแห่งชาติ แต่ไม่มี “สภาศิลปิน” เหมือนวิชาชีพอื่น

 

กฎหมายเกี่ยวกับเพลงในสหรัฐอเมริกา มีเรื่องที่น่าสนใจมาก คือ การมีกฎหมายกำหนดเรื่องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และการผูกขาดทางการค้า หรือประเด็นอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม เรียกว่า Anti trust Law

 

กรณีการขยายเวลาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ หลายประเทศประกาศขยายไปแล้ว แต่ในอเมริกาขยายไม่ได้เพราะมี Anti trust law และเรื่องการขายขาดลิขสิทธิ์ก็ทำไม่ได้

 

กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย พ.ศ.2537 นั้นมีหลายมาตราที่ใช้คำว่า “แล้วแต่จะตกลงเป็นอย่างอื่น”

 

กฎหมายลิขสิทธิ์ มาตรา 44 สิทธินักแสดง ระบุไว้ว่า การแพร่เสียง แพร่ภาพ และในที่สาธารณะเป็นของนักแสดงแต่ผู้เดียว

 

นักแสดง หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้นรำ และผู้แสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด

 

การมีเป้าหมายพัฒนาประเทศไปสู่ 4.0 รัฐต้องมีนโยบายทางกฎหมายให้ความเป็นธรรมแก่ศิลปิน ศิลปินไม่มีอำนาจต่อรอง และเข้าไม่ถึงพรรคการเมือง แต่รัฐต้องเข้าถึงปัญหาที่ไม่ได้รับการเยียวยามาตลอดยาวนาน เช่นกฎหมายที่เคยร่างค้างไว้แล้วหายไปไหน คณะทำงานยกร่างไว้หลายมาตรา กฎหมายนี้จะเป็นสิทธิประโยชน์ต่อนักแสดง เหมือนต่างประเทศ กฎหมายนี้เรียกว่า

 

พระราชบัญญัติองค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง พศ…..เรื่องการบริหารการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่นักแสดง ซึ่งเป็นกฎหมายมาตรฐานสากลร้อยกว่าประเทศบังคับใช้มานานหลายสิบปี ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาควรมีคำตอบว่าเหตุใดจึงระงับกฎหมายนี้

 

ผลงานของศิลปินผู้สร้างสรรค์ไทยทั้งเก่าใหม่ทุกประเภทมีจำนวนมากมีคุณค่า จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลเข้าสู่ระบบจัดตั้งเป็นองค์กร ซึ่งกฎหมายนี้ตัองผ่านรัฐสภา

 

เมื่อได้จัดตั้งเป็นองค์กรฯ ผลงานทั้งหมดจะเข้ามาสู่ระบบฐานข้อมูล data (เดทะ) คอมพิวเตอร์เป็นตัวเลข หรือรหัสในระบบดิจิทัล เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ และเจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม สามารถตรวจสอบจำนวนการใช้กี่ครั้ง และระบุผลงานจากผู้ใด เช่น เพลงจะได้แบ่งสี่ส่วน คำร้อง ทำนอง ดนตรี นักร้อง

 

อันที่จริงไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ มันเป็นเรื่องเก่าที่ร้อยกว่าประเทศให้ความสำคัญศักดิ์ศรีของการเป็นศิลปินของเขามานานกว่า 30-40 ปีมาแล้ว

 

สิทธินักแสดง Performance Right องค์กรทำหน้าที่บริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน การนำผลงานของนักแสดง และเจ้าของลิขสิทธิ์ออกแสดง และเผยแพร่ทั่วไป เช่น ศูนย์การค้า สายการบิน เวทีแสดงภัตตาคาร สโมสร ทีวี วิทยุ สื่อ on line ฯลฯ

 

นอกจากการบริหารสิทธิดังกล่าวแล้วองค์กรยังสามารถปฎิบัติหน้าที่ดูแลการถูกละเมิดของสมาชิกและดำเนินการฟ้องร้องแทนนักแสดง

 

ในอเมริกามีองค์กรบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนให้นักแสดง 3 องค์กร ไดัแก่

1. ASCP (American Society of Composers Authors and Publishers ) ก่อตั้ง ค.ศ.1914

2. BMI (Brodcast Music Ins) ก่อตั้ง ค.ศ.1939

3. ซีแซค SESAC (The Society European.Authors and Composers )

 

ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า JASRAC (The Japanese Society of Rights of Authors and Composers) เช่นเดียวกับองค์กรของอังกฤษ (PRS) และ อเมริกาก่อตั้ง ค.ศ.1939

 

รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านเรา EEC เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ที่เห็นความสำคัญ

 

ประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาภาคีร่วมดูแลลิขสิทธิ์ เรียกว่า Rome Convention มานานหลายปี

 

เราได้ประโยชน์อะไรบ้าง ? คงไม่ได้อะไร เพราะเราไม่ได้จัดตั้งองค์กรจัดเก็บฯ

 

มูลค่าการจัดเก็บโดยรวมหลายประเทศที่ให้ค่าตอบแทนแก่นักแสดง มีมูลค่ากว่าแสนล้านกว่าบาทต่อปี

 

ศิลปินไทยรุ่นใหม่ และรุ่นเก่ามีผลงานเป็นจำนวนมาก และสถาบันการศึกษา ศิลปการแสดง 30 กว่ามหาวิทยาลัยของไทยมีวิชาการแสดงและดนตรีถึงระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้สอนกฎหมายสิทธิประโยชน์ และความอยู่รอดในวิชาชีพ

 

พวกเขาเหล่านี้เป็นทรัพยากรบุคคลของชาติ รัฐต้องตระหนักถึงความมั่นคงในวิชาชีพ และศักดิ์ศรีของการเป็นนักแสดง ชื่อเสียงกินไม่ได้

 

ประเทศไทยมีศิลปินแห่งชาติ แต่ไม่มี “สภาศิลปิน” เหมือนวิชาชีพอื่น นักแสดงรวมตัวกันไม่ได้ แต่รัฐบาล และพรรคการเมืองตัองตระหนักเข้าถึงปัญหา อย่าให้พ่อค้ามีอำนาจเหนือศิลปิน

 

ยงยุทธ พงศ์เสาวภาคย์
อดีตกรรมการสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ฯ
เคยเป็นคณะทำงานยกร่าง กฎหมายองค์กรนักแสดงฯ
23 ก.ค. 61

 

……………

Cr. ภาพหน้าปกจาก สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดภาพเก่าเล่าอดีต

เรื่องล่าสุด