ไฮไลท์

รัฐบาลเคาะแล้ว Digital Wallet 10,000 บาท ลงทะเบียนไตรมาส 3 เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ปีนี้


10 เมษายน 2024, 15:03 น.

 

รัฐบาลเดินหน้าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ลงทะเบียนไตรมาส 3 เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ปีนี้ คาดดันเศรษฐกิจโตได้อีก 1.2 – 1.6%

 

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าและข้อสรุปโครงการ

 

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้มีการแถลงนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยเป็นการใส่เงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และกระจายไปยังทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจให้ถึงฐานราก ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ ของประชาชน และภาคธุรกิจที่จะขยายการลงทุน ขยายกิจการ เกิดการผลิตสินค้าที่มากขึ้น

 

ส่งผลนำไปสู่การจ้าง งาน สร้างอาชีพ และเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลก็จะได้รับผลตอบแทนคืนมาใน รูปแบบของภาษี และยังถือเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสให้กับกลไกการชำระเงินของ ระบบเศรษฐกิจและรัฐบาล

 

ความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการฯ จะเป็นการให้สิทธิแก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 5 แสนล้านบาท และกำหนดให้ใช้จ่ายในร้านค้าที่กำหนด ซึ่งจะเป็นการเติมเงินลงสู่ฐานราก โดยจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย 1.2 – 1.6% จากกรณีฐาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดเงื่อนไขของโครงการฯ

 

 

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital wallet ได้แนวทางการดำเนินโครงการ รายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ดังนี้

 

1. กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยมีจะมีเกณฑ์ ได้แก่ ผู้มีอายุเกิน 16 ปี ณ เดือน ที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

 

2. เงื่อนไขการใช้จ่าย แบ่งออกเป็น2กลุ่ม

2.1 กลุ่มแรก คือ การใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้า โดยใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกาหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น

2.2 กลุ่มสองคือ การใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ซึ่งไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายในเชิงพื้นที่ และขนาดของร้านค้าระหว่างร้านค้ากับร้านค้าด้วยกัน

 

ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับ ร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด) และตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่าย ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า

 

3. สินค้าทุกประเภทสามารถใช้จ่ายผ่านโครงการฯได้ยกเว้นสินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ และสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

 

4. การใช้จ่ายภายใต้โครงการ จะใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นเอง โดยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล โดยการใช้งานจะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น ๆ ในลักษณะ open loop ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำของภาครัฐ รัฐบาลจะดำเนินโครงการ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย

 

5. คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการ ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือ

(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (แห่งประมวลรัษฎากร) หรือ

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)

 

ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้ เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

 

6. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ประชาชนและร้านค้าจะสามารถเข้าร่วมโครงการ ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และจะเริ่มใช้จ่ายได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567

 

7. เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตภายใต้โครงการ คณะกรรมการ ได้มีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธาน และผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี เป็นกรรมการ และที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยมีจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นประธานมีหน้าที่กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดการดำเนินโครงการ และระบบให้สอดคล้องตามเงื่อนไขและเป็นไปตามระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานงานและประชาสัมพันธ์โครงการในประเด็นต่างๆ ด้วย

 

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แหล่งเงินของโครงการจะใช้เงินจากงบประมาณจาก 3 แหล่งได้แก่

1.เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท

2.การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท

3.การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท

 

โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ เช่น มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ) ซึ่งกำหนดว่ารัฐต้องดำเนินนโยบายการคลังตามหลักการรักษา เสถียรภาพและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และหลักความเป็นธรรมในสังคม และต้องรักษาวินัย การเงินการคลังอย่างเคร่งครัด มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งกำหนดว่าการดำเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย

 

ทั้งนี้ในการดำเนินการต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและอยู่ภายใต้ขอบเขต หน้าที่และอานาจของหน่วยงานของรัฐด้วย

 

cr. เพจ พรรคเพื่อไทย

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดไฮไลท์

เรื่องล่าสุด