คอลัมนิสต์

บทความนี้ อยากให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. อ่าน ผบ.ตร. หรือ รรท.ฯ อ่าน


1 เมษายน 2024, 15:29 น.

 

บทความนี้ อยากให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. อ่าน ผบ.ตร. หรือ รรท.ฯ อ่าน

 

อ่านแล้วเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จะทำหรือไม่ทำ เป็นสิทธิ์ของท่าน ผมเพียงมีเจตนาดีเท่านั้นไม่ได้หวังประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใด ๆ ทุกอย่างเพื่อส่วนรวม เพื่อประชาชน เพื่อองค์กร และเพื่อประเทศชาติ เท่านั้น

 

ตามที่เป็นข่าวอยู่เนือง ๆ ตำรวจจับบ้าง ฝ่ายปกครองจับบ้าง มีการแขวะกันบ้าง

 

ผบ.ตร. ได้สั่งการในที่ประชุม ศปก.ตร. เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 ข้อ 1 <เอกสารท้ายบทความ>

 

<………..ตำรวจ 1 คน 1 หมู่บ้าน>………….>

 

ผมใช้แนวคิดที่ว่า มานานประมาณ 20 ปีมาแล้ว มาตรการนี้ ยังทันสมัยใช้ได้อยู่แต่ขอเพิ่มเติมบางส่วนให้สมบูรณ์ขึ้น

 

<มาตรการจับคู่กันทำงาน> 

 

หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการป้องกันปราบปราม และบำบัดทุกข์ บำรุงสุขคือ <สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการปกครอง>

 

ดังนั้น จึงต้องบูรณาการกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อปราบปรามอาชญากรรม ยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย และการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย ทุกประเภท ซึ่งส่งผลต่อชาวบ้าน พี่น้องประชาชนโดยตรง

 

เน้นไปที่จุดแตกหัก คือ <โรงพัก> และ <อำเภอ>

 

<<การจัดกำลัง>>

 

<ตำรวจ> หนึ่งนาย จับมือกับ <ผู้ใหญ่บ้าน> หนึ่งคน

 

เพราะ <ตำรวจ> ซักถามเก่งที่สุด สืบสวนเก่งที่สุด จับกุมเก่งที่สุด

 

เพราะ <ผู้ใหญ่บ้าน> รู้จักคนในหมู่บ้านมากที่สุด รู้จักพื้นที่ดีที่สุด มีบ้านพักอยู่ในหมู่บ้าน หรือชุมชน นั้น ๆ

 

<<การปฏิบัติ>>

 

X-Ray ในพื้นที่ หมู่บ้าน ย่านชุมชน สถานศึกษา สถานบริการ โรงงาน ฯลฯ

 

เมื่อพบเหตุผิดกฎหมายก็จับกุมหรือรายงาน แล้วพร้อมกำลังเสริมทำการจับกุมร่วมกัน

 

<<งบประมาณ>>

 

รัฐบาลหรือหน่วยงานต้นสังกัดต้องจัดงบประมาณโอนตรงเข้าบัญชีผู้ปฏิบัติ

 

<<ความดีความชอบ>>

 

รัฐบาลหรือหน่วยงานต้นสังกัดต้องพิจารณาให้ขั้นพิเศษทั้งผู้รายงานและผู้จับกุมรายใหญ่ได้ รวมทั้งผู้บังคับบัญชา ที่เอาใจใส่ในการปฏิบัติ

 

<การจับคู่กันทำงาน> ในลักษณะเช่นนี้ ผมเคยทำเป็นแนวทางใช้ในสงครามยาเสพติดเมื่อ 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2546 มาก่อนที่ สภ.ละหานทราย ได้ผลงานดีเป็นที่ยอมรับ

 

<นายอำเภอ> ได้รับรางวัลเพราะเป็นหัวหน้า ศปก.

 

<ส่วนผม> ก็แค่สุขใจในผลงาน

 

ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์ กับ ผวจ.บุรีรัมย์ ให้ผมไปพูดอธิบายถึงแนวทางปฏิบัติในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้า สภ. และนายอำเภอ

 

ผอ.ป.ป.ส.ภาค 3 ขอเอาไปใชัเป็นแนวทาง

 

สำหรับท่านที่ยังทำงาน ยังรับราชการอยู่ ผมขออนุญาตเอาแนวทาง ฉบับเดิม มาลงให้ดูด้วยครับเผื่อจะมีประโยชน์เอาไปปรับใช้ได้ ปรับความเข้มข้นขึ้นลงได้ตามสถานการณ์

 

<<ขอฝากเป็นข้อคิด>>

 

ผบ.ตร.และ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. เกี่ยวกับคำสั่งข้อ 1 นี้

 

มีการเปิดตำแหน่งพิเศษ <สารวัตร> ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ลงสถานีตำรวจเพื่อช่วยงาน ผกก. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสาย ป. นั้น เป็นความคิดที่ดี เห็นชอบด้วย

 

แต่เมื่อมี สารวัตรแล้ว ก็ต้องมี <รองสารวัตร>

 

ผมคิดว่าครั้งนี้ น่าจะเป็นเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะมีนโยบายหรือแผนงานโครงการ <เพื่อบรรจุข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีคุณวุฒิ ปริญญาโท ปริญญาเอก> ให้เป็น <รองสารวัตร> เพื่อทำงานด้านนี้

 

ตำรวจชั้นประทวนที่มีคุณวุฒิเหล่านี้มีจำนวนไม่น้อยทีเดียว อายุราชการก็คนละหลายสิบปี มีทั้งความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ สามารถทำงานได้เลยอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี เชิดหน้าชูตา สตช. ได้ อย่างไม่น้อยหน้าองค์กรอื่น ๆ และอาจดูดีกว่าองค์กรอื่นด้วยซ้ำไป

 

จะเป็นขวัญ เป็นกำลังใจ และเป็นคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ให้กับตำรวจชั้นประทวนผู้ที่พยายามขวนขวาย หาความรู้เพิ่มเติม ด้วยเงินทุนส่วนตัวจะได้มีความเจริญก้าวหน้า

 

และจะเป็น คุณูปการ แก่องค์กรตำรวจอย่างยิ่ง เพราะ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โภชน์ผล คือ <ประชาชน> ผู้รับบริการโดยตรงจากตำรวจมืออาชีพ ผู้มีคุณวุฒิเหล่านั้นสมตามเจตนารมณ์ ของ สตช.

 

วิธีการนี้ เหมือนยิงปืนนัดเดียว แต่ได้นกสองตัว เพราะ ได้ทั้ง <คน> ได้ทั้ง <งาน>

 

 

พล.ต.ต.ไอยศูรย์ สิงหนาท

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดคอลัมนิสต์

เรื่องล่าสุด