วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ณ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) กล่าวว่า (วช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัย
แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ ในการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางกระบวนการ “วิศวกรสังคม” โดย (วช.) สนับสนุนให้มีกระบวนการนำวิศวกรสังคมที่ผ่านการบ่มเพาะนำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้เลือกประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อนำความรู้มาพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยวิศวกรสังคมเข้ามามีส่วนร่วมกันพัฒนาโจทย์และการปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างมีส่วนร่วม เป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์พันธ์ ใจห้าว วีระพงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นอย่างเข้มข้น โดยโครงการวิศวกรสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก (วช.) ในการสร้างกระบวนการคิดและการทำงานที่เป็นระบบของนักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ใน โซนป่า โซนเขา โซนนา และโซนทะเล ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ได้พัฒนาชุมชนหลากหลายกิจกรรม และเห็นการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างต่อเนื่อง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ สุจริตพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้กล่าวถึง การให้ความสำคัญและการสนับสนุนงานวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มเครื่องแกงตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นที่รู้จัก ส่งเสริมทักษะให้นักศึกษามีคุณลักษณะตามพระบรมราโชบาย 4 ประการ และทักษะ วิศวกรสังคม 4 ประการ เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น สู่การพัฒนาพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จากการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้มีการลงพื้นที่ของนักวิจัยและนักศึกษาวิศวกรสังคมบริเวณบ้านเขาเหล็ก ตำบลนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มกับกลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกงและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรม มีดังนี้
1. เครือข่ายกลุ่มเครื่องแกง
2. เครือข่ายกลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ได้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน
3. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
4. เครือข่ายภาคเอกชน
5. เครือข่ายของชุมชน เช่น กลุ่มผ้ามัดย้อมกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า กลุ่มชุมชนบ้านจีนแคะ
ถัดมา คณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการที่กระบวนการวิศวกรสังคมร่วมดำเนินการกับเครือข่ายชุมชน ได้แก่
1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ อาทิ เครื่องแกงตำมือ ไม้กวาดดอกหญ้า กล้วยฉาบรสต่างๆ ปลาดุกไสอวน ผ้ามัดย้อม แกงไตปลาอื้อ (อาหารพื้นถิ่น) ขนมพื้นถิ่น
2. กลุ่มท่องเที่ยว อาทิ วัดภูเขาเหล็ก ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช การทำผ้ามัดย้อมดินเหมืองแร่ โคก หนอง นา โมเดล และการทำสปาทราย
ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ (วช.) คณะนักวิจัย และนักศึกษาวิศกรสังคม ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลนบพิตำ ต่อไป