ไฮไลท์

“จุรินทร์” กำหนด ปลัด 3 ฝ่ายประชุม “สรุปข้อเสนอบริหารจัดการข้าวโพด” เสนอใหม่ครั้งหน้าก่อนเคาะทุกมาตรการ


7 เมษายน 2022, 17:12 น.

 

จุรินทร์ รอบคอบ ! กำหนด 11 เมษา มอบปลัดประชุม 3 ฝ่าย “สรุปข้อเสนอบริหารจัดการข้าวโพด” เสนอใหม่ครั้งหน้าก่อนเคาะทุกมาตรการ ยัน “นายกทุกสมาคมต้องพร้อมหน้า”

วันที่ 7 เมษายน 2565 เวลา 12.30 น.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ครั้งที่ 1/2565 พร้อมด้วย นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เป็นต้น โดยใช้เวลาประชุมกว่า 2 ชั่วโมง ณ ห้องประชุมกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

หลังการประชุม นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมและผู้แทนสมาคมที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และข้าว เป็นต้น เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เช่น สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกร เป็นต้น และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ทั้ง 4 ฝ่ายรวมภาครัฐ ประเด็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาพุ่งสูงขึ้นทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาลี ข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในสถานการณ์ทั่วโลกและกระทบมาถึงก็ราคาในประเทศ ขณะนี้ถือว่าผู้ผลิตอาหารสัตว์หลายประเทศในโลกแย่งกันซื้อวัตถุดิบ ส่วนหนึ่งเพื่อคงปริมาณการผลิตอาหารสัตว์ในประเทศให้ต่อเนื่องในห่วงโซ่การผลิต ไม่ขาดแคลน

 

ประเด็นที่มีการหารือวันนี้มี 2 ประเด็น

ประเด็นหลัก คือ ทำอย่างไรไม่ให้ปริมาณวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศขาดแคลน ประเด็นที่สอง ทำอย่างไรไม่ให้ราคาพุ่งสูงขึ้นเกินไปจนเป็นภาระต้นทุนการผลิตสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภคจนเกินสมควร รวมทั้งทำอย่างไรให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ ข้าวโพด มันสำปะหลังหรือพืชอื่น ได้รับผลกระทบ จึงต้องสร้างจุดสมดุลให้กับทุกฝ่ายให้อยู่ได้ร่วมกันไม่เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินสมควร

 

ถือว่าเป็นโจทย์ยากเพราะแต่ละกลุ่มยังมีความเห็นที่ผู้ปลูกพืชไร่อยากให้ข้าวโพดราคาสูงที่สุด ผู้เลี้ยงสัตว์อยากให้ต้นทุนอาหารสัตว์ที่มีข้าวโพดและข้าวสาลีเป็นส่วนผสมต่ำที่สุด ผู้ผลิตอาหารสัตว์ถ้าต้นทุนสูงอยากขึ้นราคาอาหารสัตว์ ผู้บริโภคอยากให้คุมราคาไก่เนื้อ ไข่และหมู ไม่ให้สูงจนเกินไปคือ โจทย์ที่คณะกรรมการชุดนี้เป็นผู้ดำเนินการต่อไป

“ความเห็นเบื้องต้นของคณะกรรมการชุดนี้ ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเข้ามาดูแลทั้งเรื่องราคาและปริมาณให้สมดุลกัน คือราคาอาหารสัตว์ไม่ให้สูงจนเป็นภาระของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ไก่และไข่ และให้มีปริมาณพอใช้และไม่เป็นภาระกับผู้บริโภคและกระทบกับราคาข้าวโพดในประเทศและพืชไร่อื่น และได้หารือมาตรการว่าจะทำอย่างไรโดยที่ผ่านมามีการประชุมร่วมกันของกรมการค้าภายในกับ 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง มีข้อสรุปเบื้องต้น วันนี้ถือว่ายังไม่เป็นข้อสรุปทั้งหมดเพราะต้องการให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกัน ซึ่งวันนี้สมาคมผู้ค้าพืชไร่ไม่ได้มาเข้าร่วมประชุม และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ก็ส่งผู้แทนเข้ามา ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรไปหาข้อสรุปร่วมกันให้ทุกฝ่ายให้เห็นพ้องต้องกันอีกครั้งหนึ่งก่อนโดยมอบให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์นัดหมายประชุมกับอีก 3 ฝ่ายให้ครบถ้วนทุกสมาคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องและนำข้อสรุปมาเสนอต่อที่ประชุมนี้อีกครั้งหนึ่งโดยเร็วที่สุด” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

 

และที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวโพด ปี 65 เงื่อนไขเช่นเดียวกับปี 64 แต่ปรับปริมาณให้สอดคล้องกับปริมาณที่เป็นจริงคือประมาณ 2,000,000 ไร่ กำหนด 2 กลุ่ม 1.เกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.กำหนดเบี้ยประกัน 160 บาท/ไร่ รัฐบาลจะจ่ายให้ 96 บาท/ไร่ ธ.ก.ส.จ่าย 64 บาท/ไร่ รวมเป็น 160 บาท/ไร่ 2.กลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.แต่สมัครใจประกันภัยข้าวโพด แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งพื้นที่ความเสี่ยงสูงเบี้ยประกันภัย 110 บาท/ไร่ ความเสี่ยงปานกลาง 100 บาท/ไร่ และความเสี่ยงต่ำ 90 บาท/ไร่ ในส่วนที่รัฐต้องอุดหนุนคิดเป็นงบประมาณ 224 ล้านบาท จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมวันนี้ถกกันหลายประเด็นเพื่อเตรียมพิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งนี้เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหมู ไก่ และไข่ นอกจากนั้นได้มีการรายงานความคืบหน้าเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2564/2565 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเริมว่า ที่ประชุมได้รับรายงานสถานการณ์พืชพลังงานสำคัญของโลกทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี และข้าวบาเล่ย์ อย่างไรก็ตามรายงานปี 2564 ราคาปรับสูงขึ้น +41% (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ +64% ข้าวสาลี +30% ข้าวบาเล่ +34% ) ส่วนสถานการณ์ปี 2565 ราคาปรับสูงขึ้น +30% ( ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ +23% ข้าวสาลี +37% ข้าวบาเล่ +30%) โดยปี 2565 นั้นสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้ความต้องการพืชพลังงานเพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางทะเลแถบยุโรปเพิ่มขึ้น

 

ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทยนั้นแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำคัญอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา น่าน ตาก และ จังหวัดเลย รวม 43.17% ของทั้งประเทศ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ มีสัดส่วนลดหลั่นมา และในช่วงต้นปีจะเป็นการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังนา โดยปี 2565 จะมีข้าวโพดหลังนาอยู่ที่ 5.2 แสนตัน ส่วนความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์สูงกว่าผลผลิตที่ได้ภายในประเทศ

….

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดไฮไลท์

เรื่องล่าสุด