คอลัมนิสต์

เปิด 17 ประกาศคำสั่งใหม่ตำรวจ


3 ธันวาคม 2023, 12:46 น.

 

ข้อพึงระวัง 17 ข้อ ในการตรวจค้นจับกุม ตามระเบียบใหม่ ตำรวจพลาดอาจติดคุก

เปิดประกาศคำสั่งใหม่ของ ตร. เป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้กฎหมายที่ตำรวจทุกนายพึงรู้ เกี่ยวกับการจับกุมข้อควรระวัง การปฎิบัติใหม่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

 

1. ผู้ที่ไม่ได้ไปทำการจับกุมจริง แต่ลงชื่อในบันทึกการจับกุม ปัจจุบันถูก ปปช.ชี้มูลว่าผิด ม.157

2. ผู้จับมีหน้าที่ต้องมอบสำเนาบันทึกจับกุมให้ผู้ถูกจับ การให้ผู้ถูกจับลงชื่อว่ารับมอบแล้วแต่จริงๆ ไม่ได้มอบ ผิด ม.157

3. การจับโพยหวย หรือ ครอบครองรถที่ถูกลักมา ไม่ใช่เป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ม.78(1) แต่สามารถจับได้ตาม ม.78(3) เวลาเขียนบันทึกจับกุมให้ตรงเหตุของกฎหมายด้วย

4. กรณีตรวจปัสสาวะเบื้องต้นพบสีม่วง ห้ามบันทึกจับกุม เพราะไม่มีเหตุจับตามกฎหมาย โดยไม่ใช่ซึ่งหน้า78(1) ผลตรวจเบื้องต้นก็ไม่ใช่หลักฐานตามสมควร78(3) ให้ทำตามระเบียบกฎหมายคือปล่อยไปแล้วรอผลยืนยันจาก รพ.แล้วเรียกมาดำเนินคดีภายหลัง เว้นแต่มีผลตรวจยืนยันเลยจึงจะจับได้ตาม 78(3) หากเป็นเด็กไม่เกิน 15 ห้ามจับเสพโดยเด็ดขาด เพราะจะจับเด็กได้ต้องมีคำสั่งศาลหรือผิดซึ่งหน้า

5. การลง ปจว. เมื่อจับ ผู้ต้องหา คนละคดีกันห้ามลง ปจว.รวมเป็นข้อเดียวกัน

6. กรณีตรวจวัดแอลกอฮอล์ถ้าไม่ยอมเป่าให้กักตัวไว้เป็นระยะพอสมควร และสั่งให้เป่าอีกครั้ง ถ้าไม่ยอมเป่าอีก ให้เขียนบันทึกจับกุมได้เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าเมาแล้ว และในบันทึกการจับกุมให้มีถ้อยคำว่าสั่งให้เป่าแล้วไม่ยอมเป่าด้วย

 

 

7. กรณีมีคนมาถ่ายภาพและตรวจสอบขอดูใบอนุญาตนั่นนี่ ขณะตั้งด่าน อาจผิด ม.145 แสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน

8. กรณีบัตร ปปส. สามารถเข้าค้นได้ กรณีจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ คือไม่มีเวลาพอที่จะไปขอศาลออกหมายค้นเท่านั้น ถ้าไม่จำเป็นเร่งด่วนเช่นซุ่มดูเป็นเวลานานหลายชั่วโมงตั้งแต่เวลากลางคืนจนถึงเช้าแต่ไม่ยอมไปขอหมายค้นถือว่าค้นไม่ชอบ และ ต้องบันทึกเหตุที่เข้าค้นตาม ม.92(4) ด้วย และจะต้องมอบสำเนาบันทึกการค้น บัญชีสิ่งของ และเหตุผลที่เข้าค้น ให้ผู้ครอบครองสถานที่หรือเจ้าบ้านด้วย ถ้าไม่มอบผิด ม.157 และเมื่อมาถึง สภ.ให้ทำบันทึกรายงานเหตุการค้นให้ ผกก.ทราบตามกฎหมายด้วย

9. ผู้ต้องหาขอประจำวันได้ข้อเดียวคือข้อที่ลงควบคุมตนเท่านั้นแต่จะขอข้อที่ผู้เสียหายมาแจ้งความไม่ได้ ผู้เสียหายก็ขอข้อที่ตนลงแจ้งความได้เท่านั้นเช่นกัน และผู้ต้องหากับผู้เสียหายขอคำให้การของตนไม่ได้เว้นแต่ส่งสำนวนให้อัยการแล้ว

10. เจ้าพนักงาน ปปส. มีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับได้ไม่เกิน 3 วัน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามยาเสพติด ม.15 จากนั้นส่ง พงส.ควบคุมได้อีก 48 ชม.

11. กรณีออกใบสั่งเด็กไม่เกิน 15 ปี พงส.ต้องทำสำนวนส่งฟ้อง จะปรับหรือว่ากล่าวไม่ได้ ถ้าเกิน 15 ปี ปรับได้หมด และให้เจ้าหน้าที่ส่งบันทึกเปรียบเทียบหรือใบเหลืองไปให้อัยการด้วย

12. กรณีผู้ต้องหาเข้าพบโดยไม่มีหมายจับ เมื่อแจ้งข้อหาแล้วห้ามให้ประกันตัว ให้เอาตัวไปฝากขัง

 

 

13. ท้ายรายงานสอบสวนให้เขียนว่า เห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ห้ามตกคำว่าเห็นควร และ ต้องให้ ผกก.หรือ รรท.ลงชื่อท้ายรายงาน ห้ามใช้คำว่า ปรท. แต่ปะหน้าส่งสำนวนใช้คำว่า ปรท.ได้

14. พ.ร.ก.ประมง 2558 , พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ฯ ไม่มีอายุความ

15.  คดีล่อซื้อ ให้สอบผู้กล่าวหา 1 ปาก พยาน 2 ปาก และ ให้ไปถ่ายภาพจุดเกิดเหตุว่าคนจับแต่ละคนอยู่จุดไหนปรากฎในสำนวนด้วย เพื่อป้องกันศาลยกฟ้อง

16. ห้ามสอบผู้ต้องหาว่าให้การปฎิเสธขอให้การชั้นศาล ถ้าปฏิเสธให้สอบว่าปฏิเสธว่าอย่างไร ถ้าผู้ต้องหาไม่ตอบ ให้ใช้คำถามนำ

17. ล่อซื้อได้ท้องที่หนึ่ง พาไปค้นได้ยาเสพติดและปืนในอีกท้องที่หนึ่ง ให้นำยาเสพติดที่ค้นได้ภายหลังมารวมในคดีล่อซื้อ ส่วนปืนส่งท้องที่ที่ค้นได้

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดคอลัมนิสต์

เรื่องล่าสุด