ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.คงกฤช เลิศสิทธิกุล ผบก.ทล., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น ปฏิบัติราชการแทน รอง ผบก. ทล., พ.ต.อ.สาธิต สมานภาพ ผกก.5 บก. ทล., พ.ต.ท.ศิลา ขำเพชร รอง ผกก.5 บก.ทล., พ.ต.ท.ยุทธนัน จันทร์เนตร รอง ผกก.5 บก.ทล. และ พ.ต.ท.ณัฐกฤต กิ่งชัยภูมิ สว.ส.ทล.1 กก.5 บก.ทล.
สั่งการตำรวจชุดจับกุม ส.ทล.1 กก.5 บก.ทล.ร่วมกับ เจ้าพนักงานตำรวจชุดเฉพาะกิจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ บช.ก., เจ้าพนักงานตำรวจ กก.5 บก.ป., เจ้าพนักงานตำรวจ กก.สส.3 บก.สส.ภ.5 และเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองเชียงใหม่ฯ ได้ออกติดตามสืบสวนหาข่าว เพื่อจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ และกลุ่มผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการโจรกรรมรถเช่าฯ ที่ก่อเหตุต่อเนื่องทั่วประเทศ สร้างความเสียหายให้กับกลุ่มผู้ประกอบการรถเช่าฯ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จนกระทั่งได้รับแจ้งจากสายลับของให้ข้อมูลว่า น.ส.ตวงพรหรือฟองเบียร์ เตจ๊ะแยง เป็นผู้ต้องหา ตามหมายจับศาลจังหวัดลำพูน และ นายพงษกร ปะนอกดง (อยู่กินฉันท์สามีภรรยากัน)
ทั้งสองมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องโดยมีแผนประทุษกรรมเกี่ยวความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จำนวนหลายคดี และหลบหนีการฟังคำพิพากษาของศาล ซึ่ง น.ส.ตวงพรหรือฟองเบียร์ เตจ๊ะแยง จะเป็นตัวการในการทำการติดต่อกับกลุ่มรถเช่าต่างๆ โดยใช้บัตรประชาชนและใบอนุญาตขับขี่รถปลอม บัญชีธนาคาร(บัญชีม้า) ก่อเหตุ และปลอมตัวไปเช่ารถ แล้วนำรถเช่าไปขายยังยังประเทศเมียรมาร์ ผ่านช่องทาง อ.แม่สอด จว.ตาก ส่วนนายพงษกร ปะนอกดง มีพฤติการณ์ ช่วยเหลือ สนับสนุน ก่อน ขณะ และหลังการลักทรัพย์รถเช่า โดยใช้กลอุบาย ของแฟนสาว โดยมีหน้าที่ไปรับและส่ง น.ส.ตวงพร หรือ ฟองเบียร์ เตจ๊ะแยง ซึ่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจ กก.สส.3 บก.สส. ภ.5 จับกุม (ดำเนินคดี สภ.เมืองน่านฯ ถูกจับกุมตามหมายจับ) ไปแล้วสองครั้งก่อนหน้านี้ จากการสืบสวนทราบว่าทั้งสองได้ใช้รถยนต์ยี่ห้อ ฮอนด้า รุ่น HR-V สีขาว ทะเบียน กต 6810 ลำพูน เป็นยานพาหนะ ใช้ในการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด เจ้าหน้าพนักงานชุดจับกุม จึงได้ออกสืบสวนได้ติดตามเรื่อยมา
ต่อมาในวันที่ 23 พ.ย.2566 เวลาประมาณ 14.45 น.เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจสอบระบบของ ศูนย์สกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด พบว่า รถยนต์ยี่ห้อ ฮอนด้า รุ่น HR-V สีขาว ทะเบียน กต 6810 ลำพูน ต่อมาในเวลาประมาณ 20.30 น.พบรถยนต์ยี่ห้อ ฮอนด้า รุ่น HR-V สีขาว ทะเบียน กต 6810 ลำพูน ได้ขับขี่มาถึงถนนทางหลวงหมายเลข 1 กม.518 ต.แม่ท้อ อ.เมือง จว.ตาก เจ้าพนักงานจึงได้แสดงตัวและเรียกหยุดรถเพื่อทำการตรวจสอบจนนำไปสู่การจับกุมตัว น.ส.ตวงพร หรือฟองเบียร์ เตจ๊ะแยง ในระบบสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ CRIMES พบว่ามีคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 15 คดี หมายมีผลบังคับใช้จำนวน 9 หมาย ดังนี้
1. หมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ จ.373/2566 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ในความผิดฐาน “ยักยอกทรัพย์และประกอบธรุกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับในทางการค้าปกติ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใดๆอันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ”
2. หมายจับศาลแขวงเชียงใหม่ ที่ 813/2566 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ในความผิดฐาน “พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ”
3. หมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ 642/2566 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ในความผิดฐาน “ปลอมบัตรประจำตัวประชาชน, ปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอม, ฉ้อโกง”
4. หมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ 750/2566 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ในความผิดฐาน “ปลอมบัตรประจำตัวประชาชน, ปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอม, ฉ้อโกง”
5. หมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 455/2566 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ในความผิดฐาน “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ,พ.ร.บ. บัตรประชาชน,ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ,ความผิดฐานลักทรัพย์”
6. หมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ 323/2566 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ในความผิดฐาน “ยักยอกทรัพย์”
7. หมายจับศาลจังหวัดภูเก็ต ที่ จ.573/2566 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ในความผิดฐาน “ร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ร่วมกันปลอมเอกสารราชการ และร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมในประการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย”
8. หมายจับศาลจังหวัดพัทยา ที่ 625/2566 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ในความผิดฐาน “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อความเสียหายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น”
9. หมายจับศาลอาญา ที่ 1781/2566 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2566 ในความผิดฐาน “ร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป”
ทั้งนี้นายพงษกร ปะนอกดง เป็นบุคคลตามหมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ 671/2566 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ในความผิดฐาน “ไม่ยอมออกจากที่พิพาท”
//////////////////////