“กมล” บรรยายหลักสูตร นบส.ศธ รุ่นที่ 13 “นักบริหารการศึกษาที่สังคมคาดหวัง”
ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายให้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 13 ในหัวข้อ “นักบริหารการศึกษาที่สังคมคาดหวัง” เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 ณ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรการศึกษา จ. นครปฐม พร้อมถกแถลง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ในการเป็นนักบริหารการศึกษายุคใหม่ ที่จะขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในอนาคต
การศึกษาไทยในยุค Disruption จะเป็นการ “แทนที่” สิ่งที่มีอยู่เดิมด้วยสิ่งใหม่ ก่อให้เกิดเป็นความต้องการใหม่ขึ้นมาและความต้องการใหม่นี้ได้แทนที่สิ่งเดิมที่มีอยู่โดย “ทันที” ซึ่งแตกต่างจากการ “ปรับเปลี่ยน” หรือ Transformation ที่จะเน้นการพัฒนาจากความต้องการเดิมหรือการต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป
โลกกำลังหมุนไปข้างหน้า คนที่ตามไม่ทันก็มักจะถูกลืมไว้ข้างหลัง เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกผันและสิ่งที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา เช่น Mobile Learning และการเรียนรู้แบบ On demand, MOOC, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Deep learning, Internet of Things (IOT), Cloud technology, Mixed reality, Big Data, 3D printing และ Maker movement เป็นสิ่งที่นักการศึกษาทุกคนจะต้องทำความรู้จักและหัดนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
เทคโนโลยีคือตัวการสำคัญ ที่ทำให้ชีวิตไม่เหมือนเดิม ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ชนิดที่สังคมใดที่ตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก็มีโอกาสถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในขณะที่โลกเปลี่แปลงไปอย่างรวดเร็วและ เกิด Digital Disruption ขึ้นนั้น ส่งผลให้วิธีการทำงานของผู้นำต้องเปลี่ยนไป และเมื่อโลกถูก Disrupt สถานศึกษาก็ต้องมองไปข้างหน้า ทุกชีวิตได้รับผลกระทบจากความ เปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ไม่เว้นแม้แต่สถานศึกษา เพราะการจัดการศึกษาที่มีมาแต่เดิมอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์โลกแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อีกต่อไป เพราะหลักสูตรการศึกษาที่สถาบันการศึกษามีอยู่อาจจะก้าวตามความเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ประกอบกับความรู้ความสามารถของอาชีพบางสาขานั้นกลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีกต่อไป ความท้าทายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งต้องตื่นตัวในเชิงรุก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เกิดการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
ทักษะที่สาคัญที่สุดในการเรียนรู้ยุคใหม่ นอกจากทักษะด้าน การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะในการที่จะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้ในปัจจุบัน
การศึกษาทุกวันนี้ไม่ได้แข่งกันที่ความสาเร็จหรือความสามารถเท่านั้น แต่ยังแข่งขันกันด้วยการคาดการณ์อนาคตและการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ความสามารถในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จะเป็นกลไกและตัวแปรที่สำคัญ
การบริหารสถานศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการ บริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ต้องสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ ไม่ซ้ำเดิม มีความสร้างสรรค์สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง ในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมและคาดไม่ถึง (Disruptive Change) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ Disruptive Change เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่โลกผันผวน ซับซ้อน มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจการเงิน เทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม รวดเร็ว และความรุนแรง
ดังนั้นสถานศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสาคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ถ่ายทอดวิชาความรู้ วัฒนธรรม ฝึกทักษะอาชีพ เสริมสร้างคุณธรรมอันพึงประสงค์ เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และฝึกทักษะชีวิตอันจำเป็นในการดำรงชีวิตให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนอย่างมีคุณค่าและสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการของสังคม โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้บริหารจัดการ คอยกำกับ ติดตาม ดูแล การดำเนินการของสถานศึกษา เพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพที่สุด สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21 และร่วมพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน