คอลัมนิสต์

วังบุเรงนอง


20 กุมภาพันธ์ 2023, 22:09 น.

 

วังบุเรงนอง

ไปเที่ยวเมืองพม่าหงสาวดี
ประวัติศาสตร์เขามีที่กล่าวขาน
บุเรงนองผู้ยิ่งใหญ่ในตำนาน
เคยรุกรานอยุธยาคราพ่ายแพ้
มีประตูไว้โชว์ชื่อ “โยเดีย”
แสดงว่าไทยเสียเมืองให้แน่
เป็นทวารประจานไว้ให้ดูแล
ไทยเคยแพ้เป็นขี้ข้าอย่ามาคุย

20/2/65

 

เมื่อก่อนไทยเรามีชื่อเมืองหลวงว่าอยุธยา แปลว่ารบไม่แพ้ เป็นคำที่ออกจะคุยเขื่องไปหน่อย ชื่อนี้คงมาจากเรื่องรามเกียรติ์ของอินเดีย ต่อมาเมื่อทำศึกกับประเทศพม่า ปรากฏว่าไทยรบแพ้พม่าถึงสองครั้ง พม่าจึงตัดคำที่เป็นราคาคุยนี้ออกไปเหลือแต่คำว่า “ยุธยา” หรือ “ยุทธย์” ตัดตัว ซึ่งแปลว่า ไม่ ออกไป ออกเสียงเป็นเป็นภาษาพม่าว่า “โยเดีย”

 

ที่เมืองหงสาวดีของพม่า (ปัจจุบันเรียก “พะโค”) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่าที่เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบุเรงนอง รัฐบาลพม่าได้ขุดค้น และ สร้างพระราชวังขึ้นมาใหม่ (ตามภาพ) มีพระที่นั่งจำลอง ที่สำคัญคือมีผังประตูเมืองที่มีชื่อเมืองหรือประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นเช่นอยุธยา (คือไทย) และ เชียงใหม่ (คือล้านนา) รวมอยู่ด้วย ประเทศราชเหล่านี้เคยส่งส่วยส่งบรรณาการไปให้พม่าทุกปี

 

เมื่อพระเจ้าบุเรงนองได้โปรดให้มีการสร้างพระราชวังแห่งนี้ประเทศเชลยทุกประเทศได้ส่งไม้สักไปให้พม่าเพื่อเป็นการอ่อนน้อมหรือเป็นขี้ข้าเขา ไม้สักที่เหลือจากการสร้างยังฝังอยู่ในดิน รัฐบาลพม่าได้ขุดพบ แต่ละท่อนได้มีเครื่องหมายชื่อของแต่ละประเทศไว้ด้วย ผมได้ถ่ายไว้แต่รูปท่อนซุงดำ ๆ เหล่านั้นที่เขาแสดงไว้ตามภาพ จะให้ล่ามไปชี้ท่อนไหนว่าเป็นของไทยก็ออกจะรบกวนเวลาของผู้อื่นมากเกินไปจึงได้แต่ถ่ายรูปผังเมืองและประตูโยเดียมาให้เห็นกันอย่างชัด ๆ เท่านั้นครับ

 

ในการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าครั้งที่ ๑ ผมได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่ง โดยศึกษาจากพงษาวดารและหลักฐานประกอบอื่น เคยไปดูเส้นทางการเดินทัพของพม่าในสมัยโบราณที่ด่านแม่ละเมา ด่านเจดีย์สามองค์และด่านสิงขร การไปดูวังบุเรงนองนี้เท่ากับไปดูหลักฐานประกอบอย่างหนึ่ง หนังสือเล่มนั้นหนาพอสมควรให้ชื่อว่า “ตำนานพระสุพรรณกัลยา” พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๐

 

การเสียกรุงครั้งแรกกษัตริย์ไทยต้องส่งพระราชธิดา คือ พระสุพรรณกัลยา ไปเป็นบาทบริจาริกา(น่าจะแปลว่าไปปฏิบัติอยู่รอบ ๆ ตีน  = บาท หรือ บาทา แปลว่าตีน คำว่า บริ หรือ ปริ = รอบ หรือว่ามีคำแปลอย่างอื่นท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ทีครับ)

 

การเสียกรุงของไทยทั้งสองครั้ง นักประวัติศาสตร์สรุปรวมกันเป็นส่วนใหญ่ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากคนไทยชั้นผู้นำแตกความสามัคคี
ไปดูวังบุเรงนองไปเห็นชื่อประตูว้งทำให้มีเรื่องน่าคิดหลายอย่างครับ

อรุณ เวชสุวรรณ

นักเขียนรางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์

ข่าวในหมวดเดียวกัน

เพิ่มเติม...

การเมือง

คอลัมนิสต์

คมในความ

มหาราษฎร์ Shorts

ภาพเก่าเล่าอดีต

ไฮไลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาล คุก

ท่องเที่ยว

ศาสนา

สุขภาพ

แวดวงนักรบ

สังคม

บทบาทบุคคล

< กลับหมวดคอลัมนิสต์

เรื่องล่าสุด