ประชุมคณะอนุกรรมาธิการครั้งที่ 7 เรื่องการพิจารณาโครงสร้างราคาพลังงานที่มีผลกระทบต่อสินค้า
ปัจจุบันค่าพลังงานในประเทศไทยเราสูงเกินไปหรือไม่ ? ทั้งน้ำมัน ไฟฟ้า ก๊าซ นั้นจากการศึกษาเบื้องต้นของอนุกรรมธิการ พบว่า ราคาพลังงานในประเทศไทยมีราคาที่สูงเกินควร มาจากปัจจัยหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยที่มีโรงกลั่นน้ำมันถึง 6 โรง แต่ต้องไปอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากประเทศสิงค์โปร์ที่ “บวก” ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ “ไม่ได้เกิดขึ้นจริง” หรือ การที่โรงไฟฟ้าหลายแห่งที่ไม่ได้เดินเครื่อง (ไม่ได้ผลิตไฟ) แต่ยังต้องเอาภาษีประชาชนมาจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าเอกชนหลายแห่งหรือที่เราเรียกว่า “ค่าพร่อมจ่าย” หรือค่า AP จำนวนมหาศาล บวกกับประเทศไทยมีอัตรากำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองสูงถึง 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมาตราฐานสากลอยู่แค่เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่าเพียงพอ แต่ภาครัฐก็ยังเดินหน้ารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จึงเป็นการตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนในปัจจุบันจำเป็นหรือไม่ ?
เงื่อนไขในการรับซื้อเป็นธรรมหรือปล่าว ? เพราะผู้ที่แบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่แพงก็คือประชาชนนั้นเอง การที่ต้นทุนยิ่งสูงก็จะนำมาคำนวณบวกเป็นต้นทุนของไฟฟ้าแต่ละหน่วยที่ประชาชนใช้ ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนแทบจะทุกชีวิตเพราะไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
คณะอนุกรรมาธิการจะทำการศึกษาเชิงลึกเพื่อที่จะสืบหาต้นตอและแก้ไขปัญหาที่ทำให้ค่าพลังงานแพงต่อไป
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน